พลังงาน

TSE เปิดงบ Q1/67 รายได้กว่า 300 ลบ. กำไรสุทธิเฉียด 100 ลบ. รุกประมูลโรงไฟฟ้า – Private PPA-จับมือพันธมิตรทำ M&A-JV มั่นใจฐานทุนแน่น ลุยสร้าง New-S-Curve ประเดิมธุรกิจ Healthcare

บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) เปิดงบไตรมาส 1/67 รายได้ 314 ล้านบาท กำไรสุทธิ 97 ล้านบาท แม่ทัพหญิง “ดร.แคทลีน มาลีนนท์”ระบุเดินหน้าประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 รุกธุรกิจ Private PPA 

พร้อมจับมือพันธมิตรผ่านการทำ M&A และ JVในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์-โรงไฟฟ้าขยะชุมชนทั้งในและต่างประเทศ ปักธงสร้าง New-S-Curve  มั่นใจฐานทุนแน่นหลังขายเงินลงทุนโรงไฟฟ้า “โอนิโกเบ” มูลค่า 3,357 ล้านบาท

และสามารถไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนก่อนครบดีลมูลค่าถึง 1,175 ล้านบาท ส่งผลสัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเพิ่มศักยภาพแหล่งทุน ล่าสุดประเดิมรุกธุรกิจ Healthcare ผลักดันอนาคตเติบโตก้าวกระโดด

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่าภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2567) กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้รวม จำนวน 314 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 97 ล้านบาท

โดยมีรายได้จากการขายและบริการ [รวมรายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder)] จำนวน 295 ล้านบาท 

สำหรับแนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 2/2567 ตลอดจนถึงสิ้นปี ยังมีทิศทางที่ดีภายใต้แผนธุรกิจที่วางไว้ ทั้งการสร้างรายได้จากธุรกิจเดิม และรายได้จากธุรกิจใหม่ที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต

โดยบริษัทฯ มีความพร้อมด้านเงินลงทุนที่มาจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น “โอนิโกเบ” มูลค่า 3,357ล้านบาท ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้แจ้งใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 (TSE24OA) มูลค่า 1,175 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 29เมษายน ที่ผ่านมา 

ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 27ตุลาคม 2567 เพื่อบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่าย ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทฯ ลดลงเหลือ 1.72 เท่า ทำให้บริษัทฯ มีความสามารถในการลงทุนและพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคต 

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีความพร้อมสำหรับการเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ตั้งเป้าหมายว่าจะได้งานประมูลราว 100 – 150 เมกะวัตต์ หลังจากปี 2566 ที่บริษัทฯ ชนะประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบที่ 1 เป็นจำนวน 88.66 เมกะวัตต์เสนอขาย 

ควบคู่กับแผนธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) หรือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) และแบบติดตั้งบนผืนน้ำ (Solar Floating) ของผู้ประกอบการธุรกิจแบบครบวงจร

และการทำ M&A (Mergers and Acquisitions) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งกำลังการผลิต รวมถึงแผนจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในประเทศไทย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ “

ในส่วนของธุรกิจใหม่ที่เข้าไปเริ่มลงทุน โดยช่วงปลายไตรมาส 1/2567 บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ นายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และ ผู้ก่อตั้งคลินิก Bangkok IVF Clinic 

เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในแผนธุรกิจ Healthcare ซึ่งจัดอยู่ในเมกะเทรนด์และมีแนวโน้มการเติบโตสูง เพื่อสร้าง New-S-Curve และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ มั่นใจว่าความร่วมมือระหว่างกันในครั้งนี้จะสนับสนุนผลการดำเนินงานในอนาคตให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ” ดร.แคทลีนกล่าว 

พลังงาน

ผถห. TSE อนุมัติจ่ายปันผลหุ้นละ 0.14 บ. ไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด 1,175 ลบ. จับมือพันธมิตรรุกธุรกิจ Health Care สร้าง New S-Curve

ผู้ถือหุ้น TSE อนุมัติจ่ายปันผลงวดปี 66 หุ้นละ 0.14 บาท ให้ยิลด์สูงถึง 11% โดยได้จ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้วหุ้นละ 0.09 บาท และจะจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท วันที่ 28 พ.ค.นี้ พร้อมเดินหน้าไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด 1,175 ล้านบาท ในวันที่ 29 เม.ย. นี้

ฟากซีอีโอ “ดร.แคทลีน มาลีนนท์” เผยปี 67 มุ่งประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 และจับมือพันธมิตรรุกธุรกิจ Health Care เพื่อสร้าง New S-Curve และเสริมความแข็งแกร่ง คาดได้ข้อสรุปในครึ่งแรกปี 67

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่า ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ที่ประชุมมีมติสำคัญ คือ อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดกว่า 100 ล้านบาท

ส่งผลให้การจ่ายเงินปันผลสำหรับการดำเนินงานงวดปี 2566 อยู่ที่อัตราหุ้นละ 0.14 บาทคิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงถึง 11% และเนื่องจากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2566 ไปแล้ว

ในอัตราหุ้นละ 0.09 บาท ดังนั้นจึงมีเงินปันผลที่จะจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท รวมเป็นหุ้นละ 0.14 บาท โดยกำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) เป็นวันที่ 13 มีนาคม 2567 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในปี 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้รวม 1,898 ล้านบาท มีผลขาดทุนรวม 2,981 ล้านบาท เนื่องจากมีการจำหน่ายเงินลงทุนในโครงการโอนิโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 จึงต้องแยกแสดงผลประกอบการของโครงการดังกล่าวออกจากส่วนการดำเนินงานปกติ

โดยแสดงเป็นรายการขาดทุนจากการดำเนินงานที่ยกเลิกจำนวน 1,946 ล้านบาท และผลขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่องจำนวน 1,035 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการบันทึกรายการพิเศษ (one time transaction) ได้แก่ ขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (หนี้สงสัยจะสูญ) จำนวน 1,036 ล้านบาท

ซึ่งเป็นรายการทางบัญชีที่ไม่กระทบต่อกระแสเงินสดและอัตราส่วนทางการเงินตามเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ (non-cash item) ซึ่งหากพิจารณากำไรสำหรับปี โดยไม่รวมรายการพิเศษข้างต้น กลุ่มบริษัทฯ จะมีผลกำไรจากการดำเนินงานปกติจำนวน 401 ล้านบาท

สำหรับแผนการดำเนินงานปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ เตรียมเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 โดยตั้งเป้าหมายที่ 100 – 150 เมกะวัตต์ รวมทั้งเดินหน้ารุกธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) 

หรือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) และแบบติดตั้งบนผืนน้ำ (Solar Floating) ของผู้ประกอบการธุรกิจแบบครบวงจร และมีแผนจะทำ M&A (Mergers and Acquisitions) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งกำลังการผลิต พร้อมทั้งจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในประเทศไทย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
ในต่างประเทศอีกด้วย

รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการใหม่ สายธุรกิจ Health Care กับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำธุรกิจ Wellness ซึ่งจัดอยู่ในเมกะเทรนด์และมีแนวโน้มการเติบโตสูง สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่คนในสังคมส่วนใหญ่ให้ความสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เพื่อสร้าง New S-Curve และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ

เริ่มตั้งแต่การให้กำเนิดบุตร การรักษา และการป้องกัน เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นความคืบหน้าในช่วงครึ่งปีแรกนี้ ขณะที่งบลงทุนในปี 2567 จะมาจากการจำหน่ายโครงการโอนิโกเบ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินในประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 3,357 ล้านบาท

ล่าสุด TSE ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ นายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 30 ปี และผู้ก่อตั้ง บริษัท บางกอก อินเฟอร์ทิลิตี้ เซ็นเตอร์ จำกัด (“BIC”) ผู้ให้บริการคลินิก “Bangkok IVF Clinic” สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก

โดยการใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ชั้นสูงอย่างครบวงจร ทั้งนี้ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพแบบครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่การให้บริการด้านการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (IVF) ตลอดจนการรักษา

การเสริมความงาม และการป้องกันเพื่อสุขภาพที่ดีและยืนยาว ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการรุกเข้าสู่ธุรกิจ Healthcare ซึ่งจัดอยู่ในเมกะเทรนด์และมีแนวโน้มการเติบโตสูง ตอบรับสังคมส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เพื่อสร้าง New-S-Curve และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ

ขณะเดียวกัน TSE ได้แจ้งใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 (TSE24OA) บางส่วนมูลค่า 1,175,000,000 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินต้นหุ้นกู้คงค้างทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยเพื่อบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่าย ทั้งยังส่งผลให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทลดลง

โดยจะชำระค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ ในอัตราร้อยละ 0.02 (หน่วยละ 1 บาท) กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนกรรมสิทธิ์หุ้นกู้ในวันที่ 17 เมษายน 2567 

และจะชำระคืนเงินต้นบางส่วนและดอกเบี้ยในวันที่ 29 เมษายน 2567 ของหุ้นกู้ TSE24OA ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 27 ตุลาคม 2567 ในอัตราดอกเบี้ย 5.10% ต่อปี

พลังงาน

TSE สุดยอด! ไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนด 1.175 พันลบ. สร้างความเชื่อมั่นบริหารจัดการต้นทุน หนุนอนาคตเติบโต

TSE สุดยอด! พื้นฐานแข็งแกร่ง ประกาศไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนด 1.175 พันล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 5.10% ในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนจริง 27 ต.ค.67 ฟากซีอีโอ “ดร.แคทลีน มาลีนนท์” ระบุ เพื่อสร้างความมั่นใจในการบริหารจัดการ รักษาผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่าย ลดต้นทุน และเพิ่มสภาพคล่องสนับสนุนการเติบโตในอนาคต

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยโซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้แจ้งใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 (TSE24OA) บางส่วน มูลค่า 1,175,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในวันที่ 29 เมษายน 2567 ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เพื่อบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่าย  ทั้งยังส่งผลให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทลดลง

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้พิจารณาถึงการสร้างความมั่นใจในการบริหารจัดการ และรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน จึงขอไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนก่อนครบไถ่ถอน 1,175,000,000 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินต้นหุ้นกู้คงค้างทั้งหมด และชำระค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ ในอัตราร้อยละ 0.02 (หน่วยละ 1 บาท) โดยบริษัทฯ ได้กำหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนกรรมสิทธิ์หุ้นกู้ในวันที่ 17 เมษายน 2567 และจะชำระคืนเงินต้นบางส่วนและดอกเบี้ยในวันที่ 29 เมษายน 2567 ของหุ้นกู้ TSE24OA ในอัตราดอกเบี้ย 5.10% ต่อปี

สำหรับหุ้นกู้ดังกล่าวที่จะมีการไถ่ถอนในครั้งนี้ เป็นหุ้นกู้ที่ออกในครั้งที่ 1/2565 ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ และผู้ออกหุ้นกู้มีสิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน  ซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.10% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน ขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ (PP II&HNW) ระหว่างวันที่ 21 และ 25-26 ตุลาคม 2565 มูลค่ารวม 2,350 ล้านบาท

การเงิน-หุ้น, ธุรกิจ

TSE ผนึกพันธมิตร แตกไลน์ รุกธุรกิจ Health Care

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ นายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพแบบครบวงจร

โดยเริ่มตั้งแต่การให้บริการด้านการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (IVF) ตลอดจนการรักษา การเสริมความงาม และการป้องกันเพื่อสุขภาพที่ดีและยืนยาว โดยนายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 30 ปี และผู้ก่อตั้ง บริษัท บางกอก อินเฟอร์ทิลิตี้ เซ็นเตอร์ จำกัด (“BIC”) ให้บริการคลินิก “Bangkok IVF Clinic” สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยการใช้เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ชั้นสูงอย่างครบวงจร ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการรุกเข้าสู่ธุรกิจ Healthcare 

ซึ่งจัดอยู่ในเมกะเทรนด์และมีแนวโน้มการเติบโตสูง ตอบรับสังคมส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เพื่อสร้าง New-S-Curve และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ โดยเริ่มต้นจาการให้กำเนิดบุตร การให้บริการรักษาผู้มีบุตรยาก ซึ่งเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

พลังงาน

TSE ฐานทุนแกร่ง! ปี 67 ลุยพลังงานหมุนเวียนเต็มพิกัด ร่วมมือพันธมิตรบุกโรงไฟฟ้าขยะชุมชน – รุกขยายธุรกิจ Wellness สร้าง New S-Curve หนุนเติบโตยั่งยืน

บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ หรือ TSE ฐานทุนแกร่งหลังขายโรงไฟฟ้าโอนิโกเบ มูลค่า 3,357 ล้านบาท ชำระคืนหนี้ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลง 

ซีอีโอหญิงแกร่ง “ดร.แคทลีน มาลีนนท์” ประกาศลั่น ปี 67 พร้อมลุยธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะชุมชน และธุรกิจ Wellness หวังสร้าง New S-Curve เพื่อการเติบโตยั่งยืน

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่า ในปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ ได้เดินหน้าตามแผนธุรกิจที่วางไว้ ตามเป้าหมายการเพิ่มรายได้ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ทั้งรายได้จากธุรกิจเดิม

และรายได้จากธุรกิจใหม่ที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต โดยมีความพร้อมด้านเงินลงทุนที่มาจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น “โอนิโกเบ” มูลค่า 3,357 ล้านบาท และหากต้องการเม็ดเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น มั่นใจว่าพันธมิตรทางธุรกิจและสถาบันการเงินพร้อมให้การสนับสนุน

เนื่องจากบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน ขณะที่สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ณ สิ้นปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 1.83 เท่า จากเดิมที่เท่ากับ 2.18 เท่า ณ สิ้นปี 2565

โดยในปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ เตรียมเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ตั้งเป้าหมายว่าจะได้งานประมูลราว 100 – 150 เมกะวัตต์ หลังจากปี 2566 ที่บริษัทฯ ชนะประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบที่ 1 เป็นจำนวน 88.66 เมกะวัตต์เสนอขาย

และเดินหน้ารุกธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) หรือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) และแบบติดตั้งบนผืนน้ำ (Solar Floating) ของผู้ประกอบการธุรกิจแบบครบวงจร

และมีแผนจะทำ M&A (Mergers and Acquisitions) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งกำลังการผลิต และมีแผนจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในประเทศไทย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ 

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ กำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการใหม่ ซึ่งเป็นสายธุรกิจ Health Care กับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำธุรกิจ Wellness ซึ่งจัดอยู่ในเมกะเทรนด์และมีแนวโน้มการเติบโตสูง สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่คนในสังคมส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแต่งงานและมีบุตรช้าลง

ซึ่ง ณ ตอนนั้นก็จะมีอายุมากขึ้นแล้วทำให้สมรรถภาพการมีบุตรลดลงมีบุตรยากขึ้น เพื่อสร้าง New S-Curve และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ โดยเริ่มตั้งแต่การให้บริการด้านการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (IVF) ตลอดจนการรักษา การเสริมความงาม และการป้องกันเพื่อสุขภาพที่ดีและยืนยาว โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นความคืบหน้าในกลางปีนี้

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานในปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวมและรายได้จากส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าทั้งสิ้น 1,898 ล้านบาท และที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดกว่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้การจ่ายเงินปันผลสำหรับการดำเนินงานงวดปี 2566 อยู่ที่อัตราหุ้นละ 0.14 บาท

คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงถึง 8% ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2566 ไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.09 บาท ดังนั้นจึงมีเงินปันผลที่จะจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท โดยกำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) เป็นวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นี้

พลังงาน

TSE พื้นฐานแน่น! จ่ายปันผลปี 66 เพิ่มอีก 0.05 บ./หุ้น

บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) พื้นฐานแกร่ง ประกาศจ่ายปันผลเป็นเงินสดงวดปี 66 เพิ่มอีก 0.05 บาทต่อหุ้น หนุนอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลรวมทั้งปี (Dividend Yield) สูงถึง 8% ฟากซีอีโอ “ดร.แคทลีน มาลีนนท์” ระบุแผนธุรกิจปี 67 

พร้อมเดินหน้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ทั้งรอบที่ 2 และ 3 ตั้งเป้าหมาย 100 – 150 เมกะวัตต์ พร้อมจับมือพันธมิตร รุกธุรกิจ Wellness เป็นธงหลัก เพื่อสร้าง New S-Curve หนุนรายได้เติบโตอย่างยั่งยืน

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดกว่า 100 ล้านบาท ส่งผลให้การจ่ายเงินปันผลสำหรับการดำเนินงานงวดปี 2566 อยู่ที่อัตราหุ้นละ 0.14 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงถึง 8% 

ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2566 ไปแล้วในอัตราหุ้นละ 0.09 บาท ดังนั้นจึงมีเงินปันผลที่จะจ่ายอีกในอัตราหุ้นละ 0.05 บาท รวมเป็นหุ้นละ 0.14 บาท โดยกำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) เป็นวันที่ 13 มีนาคม 2567 และจ่ายเงินปันผลในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 นี้

สำหรับภาพรวมผลการดำเนินงานในปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,898 ล้านบาท ได้แก่ รายได้จากการดำเนินงานต่อเนื่อง 1,275 ล้านบาท ลดลง 50 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 จากปีก่อน ที่ 1,325 ล้านบาท และรายได้จากส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าจำนวน 623 ล้านบาท ลดลง 25 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 จากปีก่อน ที่ 648 ล้านบาท

เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าบางโครงการสิ้นสุดสัญญารายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ประกอบกับการประกาศปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จึงส่งผลให้รายได้รวมปี 2566 ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน

กลุ่มบริษัทฯ มีผลขาดทุนรวม 2,981 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการจำหน่ายเงินลงทุนในโครงการ  โอนิโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 บริษัทฯ จึงต้องแยกแสดงผลประกอบการของโครงการดังกล่าวออกจากส่วนการดำเนินงานปกติ โดยแสดงเป็นรายการขาดทุนจากการดำเนินงานที่ยกเลิกจำนวน  1,946 ล้านบาท

และผลขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่องจำนวน 1,035 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการบันทึกรายการพิเศษ (one time transaction) ได้แก่ ขาดทุนทางเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (หนี้สงสัยจะสูญ) จำนวน 1,036 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการทางบัญชีที่ไม่กระทบต่อกระแสเงินสดและอัตราส่วนทางการเงินตามเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ (non-cash item),

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อยจำนวน 343 ล้านบาท, และขาดทุนจากการจำหน่ายอุปกรณ์ในระหว่างงวดจำนวน 57 ล้านบาท ทั้งนี้หากพิจารณากำไรสำหรับปี โดยไม่รวมรายการพิเศษข้างต้น

กลุ่มบริษัทฯ จะมีผลกำไรจากการดำเนินงานปกติจำนวน 401 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 28 เนื่องมาจากการเริ่มทยอยสิ้นสุดสัญญารายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และ ณ สิ้นปี 2566 กลุ่มบริษัทฯ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) เท่ากับ 1.32 เท่า

ลดลงจากปีก่อนที่ 2.20 เท่า เนื่องมาจากการนำเงินที่ได้รับจากการขายโครงการโอนิโกเบที่ประเทศญี่ปุ่นไปชำระหนี้ ทำให้กลุ่มบริษัทฯ มีความสามารถในการลงทุนเพิ่มและพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคต

สำหรับแผนการดำเนินงานปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ เตรียมเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ภายหลังจากที่ปี 2566 บริษัทฯได้ชนะประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบที่ 1 เป็นจำนวน 88.66 เมกะวัตต์เสนอขาย ขณะที่การประมูลรอบใหม่นี้ตั้งเป้าหมายที่ 100 – 150 เมกะวัตต์

รวมทั้งเดินหน้ารุกธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) หรือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) และแบบติดตั้งบนผืนน้ำ (Solar Floating) ของผู้ประกอบการธุรกิจแบบครบวงจร และมีแผนจะทำ M&A (Mergers and Acquisitions) 

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งกำลังการผลิต และมีแผนจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในประเทศไทย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศอีกด้วย

 ขณะเดียวกัน ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เพื่อการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการใหม่ สายธุรกิจ Health Care กับพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำธุรกิจ Wellness ซึ่งจัดอยู่ในเมกะเทรนด์และมีแนวโน้มการเติบโตสูง

สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่คนในสังคมส่วนใหญ่ให้ความสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เพื่อสร้าง New S-Curve และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ เริ่มตั้งแต่การให้กำเนิดบุตร การรักษา และการป้องกัน เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นความคืบหน้าในช่วงครึ่งปีแรกนี้ 

สำหรับงบลงทุนในปี 2567 บริษัทฯ มีเงินทุนจากการจำหน่ายโครงการโอนิโกเบ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินในประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 3,357 ล้านบาท และหากต้องการเม็ดเงินลงทุนที่มากขึ้น บริษัทฯ มั่นใจว่าพันธมิตรทางธุรกิจและสถาบันการเงินพร้อมสนับสนุนด้านการลงทุน เนื่องจากบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน

ธุรกิจ, พลังงาน

TSE กางแผนปี 67 พร้อมเข้าประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เดินหน้าลงทุนโรงไฟฟ้าขยะชุมชน หนุนอนาคตโตมั่นคง

บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) โดยซีอีโอ “ดร.แคทลีน มาลีนนท์” เปิดแผนธุรกิจปี 67 ระบุพร้อมเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และ 3 รุกธุรกิจ Private PPA เดินหน้าลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน

เล็งทำ M&A โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าในต่างประเทศ และลุยสร้าง New S-Curve พร้อมเดินหน้าจับมือพันธมิตรรุกธุรกิจ Wellness เสริมสร้างรายได้เติบโตอย่างยั่งยืน

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่า แผนธุรกิจในปี 2567 บริษัทฯ มีความพร้อมสำหรับเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

ทั้ง รอบที่ 2 และรอบที่ 3 หลังจากในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ชนะประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบที่ 1 เป็นจำนวน 88.66 เมกะวัตต์

ซึ่งการประมูลรอบใหม่นี้ตั้งเป้าหมายจะได้งานราว 100 – 150 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ หรือ COD (Commercial Operation Date) ในปี 2568

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ จะเดินหน้ารุกธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) หรือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนอาคาร

และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผืนน้ำ (Solar Floating) ของผู้ประกอบการธุรกิจแบบครบวงจร และมีแผนจะทำ M&A (Mergers and Acquisitions) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างเช่นที่บริษัทฯ เคยทำมาอยู่แล้ว

เพื่อเสริมความแข็งแกร่งกำลังการผลิต รวมถึงยังมีแผนจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในประเทศไทย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ

นอกจากนี้บริษัทฯ เตรียมจับมือพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำธุรกิจWellness ซึ่งอยู่ในเมกะเทรนด์ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่คนในสังคมส่วนใหญ่ให้ความสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น เพื่อสร้าง New S-Curve

และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ เริ่มตั้งแต่การเกิด การรักษา และการป้องกัน เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นความคืบหน้าในช่วงครึ่งปีแรกนี้ โดยใช้เงินลงทุนเบื้องต้นกว่า 100 ล้านบาท

สำหรับงบลงทุนในปี 2567 บริษัทฯ มีเงินทุนจากการจำหน่ายเงินลงทุนใน “โครงการโอนิโกเบ” ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินในประเทศญี่ปุ่น ในมูลค่า 13,915 ล้านเยน หรือคิดเป็น 3,434 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เท่ากับ 1 เยน : 0.2468 บาท)

และการใช้เงินลงทุนจะขึ้นอยู่กับแผนงานแต่ละโครงการที่บริษัทฯ ได้รับ ทั้งนี้หากต้องการเม็ดเงินลงทุนที่มากขึ้น บริษัทฯ ก็มีความมั่นใจในพันธมิตรกับสถาบันการเงินที่พร้อมสนับสนุนการลงทุน เนื่องจากบริษัทฯ ทำธุรกิจพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“ปี 2567 เรามุ่งมั่นทำธุรกิจอย่างเต็มที่ ทั้งด้าน Wellness รับกระแสการดูแลใส่ใจสุขภาพ เพื่อสร้าง New S-Curve ให้บริษัทฯ รวมทั้งเรายังเตรียมทำ M&A โรงไฟฟ้าโซลาร์ และ JV ในงานโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะชุมชน พร้อมเดินหน้าลุยธุรกิจ Private PPA

และเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เพื่อสร้างรายได้ให้เติบโตอย่าง มั่นคง ควบคู่กับการให้ความสำคัญต่อ ESG อย่างที่สุด” ดร.แคทลีน กล่าว

ปัจจุบัน TSE มีกำลังการผลิตเสนอขายรวมกว่า 150 เมกะวัตต์ ซึ่งยังไม่นับรวมกับโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed – in Tarif (FT) ปี 2565-2573 ที่บริษัทฯ ชนะประมูล รอบที่ 1 เป็นจำนวนรวม 88.66 เมกะวัตต์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทยอยลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในไตรมาส 1 นี้

พลังงาน

TSE ขายโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น 133 MWac กำเงินสด ลุยประมูล กกพ. รอบ 2 ปักหมุดคว้างานไม่ต่ำกว่า 100 MW

บอร์ด บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอรยี่ (TSE) อนุมัติขายโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น กำลังการผลิตเสนอขายรวม 133 MWac คาดปิดดีลได้ภายในสิ้นปี 66 รับรู้รายได้ทันทีเตรียมนำเงินลงทุนโปรเจคใหม่ สร้างโอกาสเติบโต (New S-Curve) แม่ทัพหญิง “ดร.แคทลีน มาลีนนท์” ระบุพร้อมลุยประมูลกกพ. รอบ 2 ตั้งเป้าได้งานไม่ต่ำกว่า 100 MWac

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ TSE เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ได้มีอนุมัติให้ Onikoube Solar Power PTE. LTD. (OSP) 

ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ จำหน่ายสัดส่วนการลงทุน 100% ในบริษัท PurpleSol G.K. (PPS) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ OSP ซึ่งประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิตเสนอขาย 133.63 เมกะวัตต์ “โครงการโอนิโกเบ (Onikoube)” ให้แก่บริษัท Amun Godo Kaisha (“Amun GK”) 

ซึ่งมิใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ มูลค่าการขายประมาณ 13,915 ล้านเยน หรือคิดเป็น 3,434 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคาร ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เท่ากับ 1 เยน : 0.2468 บาท) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเงินที่ได้รับจากการขายครั้งนี้ต่อยอดลงทุนในโครงการอื่นๆ ในอนาคต เพื่อให้เป็นไปตามแผนการขยายธุรกิจของบริษัทฯ

“บริษัทฯ ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นกับบริษัท Amun Godo Kaisha (“Amun GK”) เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา และคาดว่าธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะสำเร็จภายในปี 2566 สำหรับเงินทุนที่ได้บริษัทฯ วางแผนจะนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ, ชำระคืนเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน และสำรองเป็นเงินลงทุนในโครงการใหม่ในอนาคต เพื่อสร้างการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน” ดร.แคทลีน กล่าว

ทั้งนี้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ กํากับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in-Tariff (FiT) ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565  เฟส 1  บริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมโครงการ

และได้รับคัดเลือกเป็นผู้ผลิตและขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนดังกล่าวให้กับรัฐบาล จำนวน 7 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 88.66 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 25 ปี โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และแบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบบ FiT ตลอดอายุสัญญา

โดยมีมูลค่าการลงทุนทั้งหมดประมาณ 4,289 ล้านบาท บริษัทฯ อยู่ระหว่างการทยอยลงนามในสัญญาซื้อขายไฟดังกล่าวทั้ง 88.66 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะลงนามแล้วเสร็จภายในต้นปีหน้า นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทได้เตรียมความพร้อมเดินหน้าเข้าร่วมประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าฯ รอบที่ 2 ที่มีโควต้าออกมาประมาณ 3,669 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าคว้างานไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์เสนอขาย

ภายหลังการเสนอขายโครงการโอนิโกเบ จะเป็นผลให้ TSE มีกำลังการผลิตเสนอขายรวม 241.86  เมกะวัตต์  ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตเสนอขายเป็น 500 เมกะวัตต์ ภายใน 5 ปี โดยยังคงมองโอกาสการเติบโตทั้งการจัดหาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ภายใต้แผน PDP, 

การขยายการลงทุนหรือร่วมลงทุนโซลาร์ฟาร์ม, การเข้าซื้อกิจการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ (M & A) และโครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน นอกจากนี้มีแผนการลงทุนในโครงการที่เกี่ยวกับเนื่องกับสุขภาพแบบครบวงจร  เพื่อสร้างศักยภาพการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

สังคมเศรษฐกิจ

TSE มั่นใจรายได้รวมปีนี้ All Time High

คุณอังคณีย์ ฤกษ์ศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน, คุณชนากานต์ เยี่ยมวิญญะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี   และคุณเกวลิน เมธาคุณเกวลิน เจ้าหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์  บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่  (TSE)  ถ่ายภาพร่วมกัน ภายหลังการนำเสนอข้อมูลบริษัทฯ ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน

หรือ Opportunity Day ประจำไตรมาส 3/2566 โดยกลุ่มบริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้รวมปีนี้ (รวมส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า) จะทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Onikoube กำลังการผลิต 133 เมกะวัตต์   ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วเมื่อไตรมาส 2/2566 ที่ผ่านมา

พลังงาน

TSE ส่งซิก Q4/66 สดใส บุ๊กรายได้โปรเจคโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น ปักหมุดรายได้ปี 66 ออลไทม์ไฮ รุกขยายธุรกิจ Private PPA หนุนอนาคตเติบโตก้าวกระโดด

บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ส่งสัญญาณแนวโน้มผลงาน Q4/66 โตต่อเนื่อง หลัง COD โครงการ “โอนิโกเบ (Onikoube)” โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น

กำลังการผลิตตามสัญญาขายไฟฟ้าระยะยาวกับการไฟฟ้าญี่ปุ่น 133 เมกะวัตต์ ฟากซีอีโอ “ดร. แคทลีน มาลีนนท์” ปักหมุดรายได้ปีนี้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เดินเกมรุกธุรกิจ Private PPA หนุนผลงานโตก้าวกระโดด

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE) เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/2566 คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น “โครงการโอนิโกเบ (Onikoube)” กำลังการผลิตตามสัญญาขายไฟฟ้าระยะยาวกับการไฟฟ้าญี่ปุ่น 133 เมกะวัตต์ เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้ว

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้รวมปี 2566 (รวมส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้า) ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โอนิโกเบ (Onikoube) ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้วในไตรมาส 2/2566

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการชนะประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รอบที่ 1 เป็นจำนวน 88.66 เมกะวัตต์ แล้ว กลุ่มบริษัทยังเตรียมความพร้อมเดินหน้าเข้าร่วมประมูลโครงการจัดหาไฟฟ้าฯ รอบที่ 2 ที่มีโควตาออกมา 3,668.5 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าได้งานไม่ต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์

อีกทั้งกลุ่มบริษัทฯ ยังศึกษาโครงการ Waste to Energy หรือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานจากขยะ ซึ่งปัจจุบันได้มีการเจรจากับผู้เกี่ยวข้อง และอยู่ระหว่างศึกษาโครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ หากเดินหน้าโครงการดังกล่าว คาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่าพันล้านบาท ขณะเดียวกันกลุ่มบริษัทฯ ได้เริ่มรุกธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement)

หรือ ข้อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนอาคาร รวมไปถึงการติดตั้งบนบ่อน้ำ (Solar Floating) ของผู้ประกอบการธุรกิจแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์การลงทุน การออกแบบ การติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษา อีกทั้งยังมีการรับประกันตลอดอายุสัญญา ตามความต้องการของผู้ประกอบการหรือองค์กร โดยองค์กรไม่ต้องลงทุนแต่อย่างใด

ยิ่งไปกว่านั้นองค์กรยังสามารถเลือกรูปแบบการติดตั้งและการบริหารค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งานขององค์กร เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ารายย่อยและกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมสำหรับการลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเพื่อผลกำไรในการดำเนินธุรกิจที่มากขึ้นในระยะยาว โดยธุรกิจใหม่ดังกล่าวจะเข้ามาสนับสนุนฐานรายได้ให้กับกลุ่มบริษัทฯ มากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3/2566 กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการขาย และการให้บริการรวมจำนวน 559.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 226.5 ล้านบาท หรือคิดเป็น 68% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 332.9 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าจำนวน 150.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อรวมรายได้อื่นๆ กลุ่มบริษัทฯ จึงมีรายได้รวม 712.3 ล้านบาท

และมีกำไรสุทธิ 120.6 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนซึ่งเท่ากับ 121.5 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาสนี้กลุ่มบริษัทฯ มีการบันทึกรายการพิเศษซึ่งเป็น non-cash item ขาดทุนจากการจำหน่ายอุปกรณ์จำนวน 52.2 ล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมรายการพิเศษดังกล่าวจะทำให้มีกำไรถึง 172.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 51.3 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.2%

ส่วนผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกของปีนี้ กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการรวมเป็นจำนวน 1,388.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 391.4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 39.3 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 997.1 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าจำนวน 539.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44 ล้านบาท

หรือคิดเป็น 8.9% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 495.1 ล้านบาท และเมื่อรวมรายได้อื่นๆ กลุ่มบริษัทฯ จึงมีรายได้รวมถึง 1,972.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 506.1 ล้านบาท ลดลง 125 ล้านบาท หรือคิดเป็น 19.8% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 631.1 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่องวด 9 เดือนแรกของปี 2565 มีรายการพิเศษจากการรับรู้กำไรจากการจำหน่ายโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นจำนวน 234.4 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมรายการกำไรพิเศษดังกล่าว กลุ่มบริษัทฯ จะมีกำไรสุทธิสำหรับงวด 9 เดือนแรกของปีก่อนเท่ากับ 396.6 ล้านบาท เป็นผลให้กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสำหรับงวด 9 เดือนของปีนี้ เพิ่มขึ้นถึง 109.4 ล้านบาท หรือคิดเป็น 27.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยกำไรจากการดำเนินงานไตรมาสที่ 3/2566 ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนนั้น มีสาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการขายและให้บริการในเชิงพาณิชย์ (COD) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น “โครงการโอนิโกเบ (Onikoube)” เต็มไตรมาส และการประกาศปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รวมไปถึงการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพได้อย่างต่อเนื่องในกลุ่มต้นทุนเชื้อเพลิงของโครงการชีวมวล (Biomass)