ตลาด, ธุรกิจ

สยาม ทาคาชิมายะ ชวนสำรวจไอเทมใหม่ กับ 6 สไตล์แฟชั่นญี่ปุ่นจาก 6 แบรนด์ที่น่าจับตามอง

สยาม ทาคาชิมายะ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งเดียวของห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นขนานแท้แห่งเดียวในประเทศไทย ณ ไอคอนสยาม ชวนคุณหนุ่มๆ มาสำรวจไอเทมใหม่ล่าสุดจากเอ็กซ์คลูซีฟเจแปนแบรนด์

ที่จะมาช่วยให้การแต่งตัวที่เรียบง่ายสนุกสนานขึ้น พร้อมยังช่วยเสริมลุคสายสปอร์ตเอาต์ดอร์ให้โดดเด่นและแตกต่างอย่างมีสไตล์

and wander (แอนด์ วันเดอร์) แบรนด์นี้เกิดจากความหลงใหลอันแรงกล้าของผู้ก่อตั้ง Keita Ikeuchi และ Mihoko Mori ซึ่งเคยทำงานร่วมกันในฐานะนักออกแบบที่ ISSEY MIYAKE 

โดยมีแนวคิด “ความสุขในการใช้เวลาสนุกๆ บนภูเขา” เป็นปรัชญาของแบรนด์ เน้นการออกแบบที่ผสมผสานสไตล์แฟชั่นชั้นสูง แต่เพิ่มฟังก์ชันและการใช้ได้จริงของเสื้อผ้ากลางแจ้ง 

โดยทำจากวัสดุที่ทนทาน น้ำหนักเบา กันน้ำและกันลม ซึ่งในคอลเล็กชั่นล่าสุดนี้มาพร้อมสีสันอันเป็นเอกลักษณ์กลมกลืนกับธรรมชาติ

Double Standard (ดับเบิ้ล สแตนดาร์ด) ก่อตั้งและออกแบบโดย Masahisa Takino ดีไซน์เนอร์ชาวญี่ปุ่นในปี 1961คอนเซ็ปต์ของแบรนด์คือการออกแบบผสมผสานสไตล์ที่หลากหลาย

เช่น โมเดิร์นและคลาสสิกเข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอสไตล์แบบเฉพาะตัวของ Double Standard โดยเน้นที่วัสดุและการตัดเย็บ สำหรับThe H Collection หนึ่งในคอลเลคชั่นยอดนิยมของแบรนด์ ใช้วัสดุคุณภาพดี

และไม่เพียงแต่การให้ความสำคัญเรื่องของดีไซน์ แต่ยังให้ความสบายขณะสวมใส่ โดยออกแบบให้สามารถใช้ได้หลากหลายโอกาสไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมแอคทีฟอื่น ๆ

Snow Peak (สโนว์ พีค) แบรนด์แคมป์ปิ้งอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น ที่มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “การผสมผสานไลฟ์สไตล์แบบเมือง เข้ากับธรรมชาติ” โดยในคอลเล็กชั่น Spring Summer 2024 ออกแบบมาเพื่อชาวแคมป์ยุคใหม่สไตล์ญี่ปุ่นอย่างแท้จริง

คอลเลกชันซีรีส์ที่คัดสรรมาอย่างดีเน้นฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่ยังคงสวมใส่สบายเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนในสภาพอากาศที่หลากหลาย โทนสีต่างๆ

เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของธรรมชาติ โดยมีโทนสีเขียว สีเทา และสีน้ำเงินที่สะท้อนถึงหมอกชื้น พืชพรรณที่กำลังเติบโต และท้องฟ้าต้นฤดูใบไม้ผลิ

TAKEO KIKUCHI (ทาเคโอะ คิคูจิ) แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายชายสัญชาติญี่ปุ่นก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1984 นำเสนอจุดเด่น ความมีชีวิตชีวาสวมใส่ได้ทุกโอกาสเหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ 

เน้นการดีไซน์ที่เนี้ยบโดยเลือกใช้วัสดุในการผลิตคุณภาพสูงผลิตในประเทศญี่ปุ่น โดยในคอลเลกชั่นนี้สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของสายลมที่พัดผ่านห้องที่อาบด้วยแสงอาทิตย์อันอบอุ่นของฤดูร้อน

BRIEFING (บรีฟฟิ่ง) แบรนด์ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี1998 ได้รับแรงบันดาลใจ จากการผสมผสานงานฝีมืออันแข็งแกร่งของอเมริกา และการออกแบบที่ประณีตของญี่ปุ่น

ตามปรัชญาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ QCC “Quality, Creativity, Craftsmanship” แบรนด์นำเสนอผลิตภัณฑ์ ทั้งกระเป๋าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงอุปกรณ์กีฬากอล์ฟ ถุงกอล์ฟ ถุงมือ หมวก

และที่คลุมหัวไม้กอล์ฟ สำหรับคอนเซ็ปต์ของคอลเล็กชั่นล่าสุดนี้ เป็นการนำโมเดิร์นดีไซน์ มาผสมกับความวินเทจ ด้วยการปักโลโก้สีเดียวกับกระเป๋า พร้อมกับป้ายโลโก้ด้านในที่ออกแบบพิเศษสำหรับคอลเล็กชั่นนี้โดยเฉพาะ

MAISON MAVERICK PRESENTS (เมซง มาเวอริค พรีเซ้นต์) แบรนด์แฟชั่นรองเท้าสนีกเกอร์จากญี่ปุ่นที่สวมใส่สบาย, เบา และมีดีไซน์โดดเด่นไม่ซ้ำใคร 

นำสีสันใหม่มาเพิ่มความสดใสให้คอลเล็กชั่นล่าสุด รองเท้า “The Maverick” เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่พลาดไม่ได้ ด้วยดีไซน์กึ่งสปอร์ตอันเป็นเอกลักษณ์

มาอัพเดทคอลเล็กชั่นใหม่กับเจแปนเอ็กซ์คลูซีฟแบรนด์ and wander, Double Standard, Briefing และ Maison Marverick ที่มีเฉพาะที่สยาม ทาคาชิมายะ เท่านั้น 

พร้อมอีกหลายแบรนด์แฟชั่นที่เหมาะกับคุณที่ชั้น 2 และ 3 ห้างสรรพสินค้าสยาม ทาคาชิมายะ ณ ไอคอนสยาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทาง Facebook และ LINE SIAM Takashimaya.

 

การเงิน-หุ้น, ธุรกิจ

‘โอสถสภา’ โชว์ผลงานไตรมาส 1/67 ทำกำไรจากการดำเนินงานปกติพุ่ง 73.2% กำไรสุทธิ 828 ล้านบาท

‘บมจ. โอสถสภา (OSP)’ โชว์ศักยภาพการดำเนินธุรกิจไตรมาส 1/2567 ทำผลงานเติบโตต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ทำรายได้จากการขาย 7,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.9% จากปีก่อน (YoY) เพิ่มขึ้น 11.2% จากไตรมาสก่อน (QoQ) 

และมีกำไรสุทธิตามรายงาน828 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.5% YoY และ 91.5% QoQซึ่งหากพิจารณากำไรจากการดำเนินงานปกติ(core business) เติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น 73.2% YoY และเพิ่มขึ้น 39.9% QoQ 

สะท้อนขีดความสามารถและศักยภาพเหนือคู่แข่งทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ จากการบริหารจัดการประสิทธิภาพการผลิตที่ดี หนุนการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอัตรากำไรขั้นต้น 

ตอกย้ำตำแหน่งผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังด้วยส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 46.4% โดยมีแบรนด์ ‘เอ็ม-150’ ครองอันดับ 1 อย่างแข็งแกร่ง และแบรนด์ ‘ซี-วิท’ เป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลดริงก์

นางสาวรติพร ราษฎร์เจริญ Group Chief Financial Officer บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปีนี้ว่า บริษัทฯ เติบโตโดดเด่นทั้งในด้านรายได้และผลกำไรเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาและไตรมาสก่อน 

ตอกย้ำศักยภาพการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งของโอสถสภา ด้วยกลยุทธ์ความหลากหลายของกลุ่มผลิตภัณฑ์(Brand Portfolio) ช่องทางการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งและกลยุทธ์การตลาดที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มในประเทศเติบโต11.9% YoY 

โดยมีแบรนด์ ‘เอ็ม-150’ ครองตำแหน่งผู้นำอันดับ 1 ในตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังและมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ และตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค 

โดยล่าสุดได้เปิดตัว M-150 Sparkling Energy Drink เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มมิลเลนเนียลส์ที่ต้องการความสดชื่นระหว่างวันในการทำกิจกรรมตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ผ่านการทำการตลาดในรูปแบบที่แตกต่าง จนได้รับกระแสตอบรับที่ร้อนแรงและเป็นที่พูดถึงในสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง 

สำหรับแบรนด์ ‘ซี-วิท’ เป็นผู้นำตลาดฟังก์ชันนัลดริงก์และเครื่องดื่มผสมวิตามินซีที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นต่อเนื่องทุกไตรมาส โดยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 42.9% ประกอบกับแบรนด์ ‘เปปทีน’ และ ‘คาลพิส แลคโตะ’ ที่เติบโตอย่างโดดเด่น

ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลเติบโตขึ้น 8.7% จากกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งของแบรนด์ ‘เบบี้มายด์’ ซึ่งเป็นผู้นำตลาดทั้งสบู่อาบน้ำเด็กและแป้งเด็ก ส่วนตลาดต่างประเทศ ‘โอสถสภา’ เป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังที่ทำยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยในไตรมาส 1 ปี 2567 มียอดขายเติบโต23.1% โดดเด่นที่สุดในรอบ 5 ปี ด้วยการบริหารจัดการเชิงรุก การทำกิจกรรมการตลาดที่แข็งแกร่งในเมียนมาร์และสปป.ลาว ตลอดจนการเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค แม้ต้องเผชิญกับปัจจัยภายนอกที่ท้าทายในหลายๆ ด้าน

ส่วนแผนดำเนินธุรกิจในไตรมาส 2 บริษัทฯ จะยังคงขับเคลื่อนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มุ่งรักษาความเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลังด้วยการเพิ่มส่วนแบ่งตลาด โดย ‘เอ็ม-150’ ได้จับมือกับพันธมิตรที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับ เวิร์คพอยท์ ส่งพลังและกำลังใจช่วยปลดหนี้ให้แก่คนไทยผ่านแคมเปญ “ปลดหนี้ทุกวัน หมื่น แสน ล้าน” 

การผนึกกำลังกับ การีนา ประเทศไทย ร่วมสนับสนุนการแข่งขันเกม RoV หรือ Arena of Valor เกมมือถือที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในไทยและระดับโลก ทั้งยังเป็นเกมอันดับ 1 ที่มีการแข่งขันอีสปอร์ตในระดับมืออาชีพ (Pro-league) ในประเทศไทย การคว้าตัวดูโอชาวเกาหลีใต้ขวัญใจคนไทย “พี่จอง-คัลแลน” 

มาเป็นพรีเซนเตอร์สปาร์คพลังความซ่ากับเครื่องดื่ม M-150 Sparkling Energy Drink ไปจนถึงการผลักดันแคมเปญ “#ไม่มีลิมิตชีวิตโคตรซิ่ง” ภายใต้กลยุทธ์ มิวสิกมาร์เก็ตติ้ง ที่เป็นจุดแข็งของแบรนด์ เพื่อต้อนรับฤดูกาลขายสินค้าในช่วงหน้าร้อน รวมถึงเดินหน้านำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 

ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคลภายใต้แบรนด์ ‘เบบี้มายด์’ อาทิเบบี้ มายด์ รีแลกซ์ซิ่ง ลาเวนเดอร์ ออร์แกนิกครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทั้งเพอร์ซัลนัลแคร์และโฮมแคร์ ที่มีจุดเด่นด้านความหอมผ่อนคลาย สามารถตอบโจทย์คุณแม่ คุณลูก รวมถึงคนวัยทำงาน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเติบโตตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว

นางวรรณิภา ภักดีบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า ในไตรมาสที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถดำเนินการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวที่มุ่งผลักดันการเติบโตของรายได้จากธุรกิจหลัก ควบคู่กับการพิจารณาจำหน่ายเงินลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก

รวมถึงเงินลงทุนที่โอสถสภามีสัดส่วนการถือหุ้นส่วนน้อยหรือไม่มีอำนาจควบคุม ตลอดจนการขยายการลงทุนในต่างประเทศ และการบริหารจัดการประสิทธิภาพการดำเนินงานในทุกมิติ นำไปสู่การยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันในทุกด้าน และขับเคลื่อนการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน 

สะท้อนความสำเร็จจากผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในไตรมาสแรกของปีนี้  และโอสถสภายังได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น “Industry Mover” หรือ บริษัทที่มีการพัฒนาทางด้านความยั่งยืนโดดเด่นที่สุดในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทั่วโลก ในรายงาน S&P Global Sustainability Yearbook ประจำปี 2024 อีกด้วย

โอสสถสภามุ่งมั่นสร้างผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างยั่งยืน เพื่อส่งมอบผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้น และมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นพลังเพื่อชีวิตที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

“โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา” เผยผลงานไตรมาส 1 ปี 67 มีรายได้รวม 6,389  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9%

บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอเรียนชี้แจงคำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน (ไตรมาส 1) สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมัลดีฟส์ดูไบและญี่ปุ่น
    1. 1.1.การท่องเที่ยวไทย

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาส 1/2567 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 9.4 ล้านคน เติบโต 44% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ มีจำนวน 1.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนหรือ เติบโตประมาณ 2.4 เท่าเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการฟรีวีซ่า ทั้งนี้ ภาพรวมนักท่องเที่ยวหลักมาจากเอเชีย คิดเป็นสัดส่วน 66% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด โดยสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3 อันดับแรกได้แก่ จีน 19%, มาเลเซีย 12% และรัสเซีย 7% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด 

1.2 การท่องเที่ยวมัลดีฟส์

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 1/2567 รวมทั้งสิ้น 604,004 คน เติบโต 15% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของนักท่องเที่ยวจีนโดยมีจำนวน 67,399 คน เติบโตประมาณ 2.8 เท่าเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวอินเดีย มีจำนวน 34,847 คน ในไตรมาส 1/2567 ลดลง 38%

เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ในลำดับที่ 6 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด อย่างไรก็ดี ภาพรวมนักท่องเที่ยวจากยุโรปยังคงสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็น 66% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด สำหรับนักท่องเที่ยว 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 11%, รัสเซีย-สหราชอาณาจักร-อิตาลี มีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ 10% และเยอรมัน 8% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด  

1.3 การท่องเที่ยวดูไบ

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 1/2567 รวมทั้งสิ้น 5.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของนักท่องเที่ยวจากเอเชียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 68% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นสัดส่วน 9% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ทั้งนี้ นักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก มาจากยุโรปตะวันตก สัดส่วน 22%, เอเชียใต้ 17%, ประเทศรัสเซีย กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS)และยุโรปตะวันออกรวม 16% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ตามลำดับ 

1.4 การท่องเที่ยวญี่ปุ่น

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 1/2567 รวมทั้งสิ้น 8.6 ล้านคน เติบโต 79% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของนักท่องเที่ยวเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะชาวจีนมีจำนวน 1.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนหรือเติบโตประมาณ 8.3 เท่าเทียบปีก่อน ทั้งนี้นักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนรวม 60% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด  ได้แก่ เกาหลีใต้ 27%, ไต้หวัน 17% และจีน 16% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด

  1. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานรวมและรายธุรกิจของบริษัทฯ

2.1 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานรวม 

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 และไตรมาส 1 ปี 2566

(หน่วย: ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 1/2566เปลี่ยนแปลง
(
เพิ่มขึ้น + / ลดลง -)
 จำนวนเงิน%จำนวนเงิน%จำนวนเงิน%
รายได้จากธุรกิจโรงแรม3,24551%2,83248%41315%
รายได้จากธุรกิจอาหาร3,14449%3,03152%1134%
              รวมรายได้6,389100%5,863100%5269%
ต้นทุนขาย – ธุรกิจโรงแรม1,07517%86815%20724%
ต้นทุนขาย – ธุรกิจอาหาร1,41822%1,37123%473%
              รวมต้นทุนขาย(1)2,49339%2,23938%25411%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร1,98031%1,92633%543%
ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย10%(26)         0%   27104%
กำไรก่อนค่าเสื่อมราคาค่าตัดจำหน่ายดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBITDA)1,91730%1,67229%24515%
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย75512%72112%345%
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT)1,16218%95116%21122%
ต้นทุนทางการเงิน(2)2594%1863%7339%
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้1172%841%3339%
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม(30)0%(52)1%2242%
กำไรสุทธิ75612%62911%12720%
  1. ต้นทุนขายไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายส่วนที่ปันส่วนเป็นต้นทุนขาย
  2. ต้นทุนทางการเงินที่ไม่รวมดอกเบี้ยจ่ายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า มีจำนวนทั้งสิ้น 124 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 121 ล้านบาท)

ไตรมาส 1/2567: บริษัทฯมีรายได้รวม 6,389  ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 5,863 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 526 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 9%) โดยสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจโรงแรมต่อรายได้จากธุรกิจอาหาร อยู่ที่ 51%:49% (ไตรมาส 1/2566: 48%:52%) ขณะที่กำไรขั้นต้นรวม 3,607 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 59% ของรายได้ (ไม่รวมรายได้อื่น) ทรงตัวเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน บริษัทฯมีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA) รวม 1,917 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,672 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 245 ล้านบาท (หรือ 15%) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอัตรากำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย

และภาษีเงินได้ ต่อรายได้รวม (% EBITDA) 30% ดีขึ้นเทียบกับปีก่อน (ไตรมาส 1/2566: 29%) จากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรม บริษัทฯ มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT) 1,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 211 ล้านบาท หรือ 22% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ไตรมาส 1/2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127 ล้านบาท หรือ 20% เทียบปีที่ผ่านมา จากการเติบโตของผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหาร

ทั้งนี้ ไตรมาส 1/2567 บริษัทฯมีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินกู้ยืมสกุลเงินต่างประเทศจำนวน 6 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: กำไร 25 ล้านบาท) 

2.2 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานรายธุรกิจ 

2.2.1 ธุรกิจโรงแรม 

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯมีโรงแรมภายใต้การบริหารงานทั้งสิ้น จำนวน 95 โรงแรม (21,022 ห้อง) แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 52 โรงแรม (11,261 ห้อง) และเป็นโรงแรมที่กำลังพัฒนา 43โรงแรม (9,761 ห้อง) ในส่วน 52โรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วนั้น 20 โรงแรม (5,566 ห้อง) เป็นโรงแรมที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ และ 32 โรงแรม (5,695 ห้อง) เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้สัญญาบริหาร

ผลการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมที่บริษัทฯเป็นเจ้าของสำหรับไตรมาส 1/2567


อัตราการเข้าพัก (Occupancy – OCC) 
ผลการดำเนินงานของโรงแรมทั้งหมด
1/25671/2566%เปลี่ยนแปลง
กรุงเทพฯ78%73%5% pts
ต่างจังหวัด75%78%-3% pts
มัลดีฟส์92%89%3% pts
ดูไบ90%83%7% pts
ญี่ปุ่น67%NA
ประเทศไทยเฉลี่ย 76%76%
รวมเฉลี่ย (ไม่รวมดูไบ)76%77%-1% pts
รวมเฉลี่ยทั้งหมด77%78%-1% pts
71 ราคาห้องพักเฉลี่ย (บาท) (Average Room Rate – ARR)ผลการดำเนินงานของโรงแรมทั้งหมด
1/25671/2566% เปลี่ยนแปลง
กรุงเทพฯ4,0353,8824%
ต่างจังหวัด6,1244,70330%
มัลดีฟส์16,64016,1513%
ดูไบ7,4416,44415%
ญี่ปุ่น7,045NA
ประเทศไทยเฉลี่ย5,4084,46121%
รวมเฉลี่ย (ไม่รวมดูไบ)6,3125,22321%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด6,4645,38020%

รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (บาท) (Revenue per Available Room –  RevPar)
ผลการดำเนินงานของโรงแรมทั้งหมด
1/25671/2566% เปลี่ยนแปลง
กรุงเทพฯ3,1402,84910%
ต่างจังหวัด4,5693,65425%
มัลดีฟส์15,23714,2957%
ดูไบ6,6865,37424%
ญี่ปุ่น4,740NA
ประเทศไทยเฉลี่ย 4,0923,40720%
รวมเฉลี่ย (ไม่รวมดูไบ)4,7724,02519%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด4,9944,18719%

ผลการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมสำหรับไตรมาส 1/2567 

ธุรกิจโรงแรม (ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 1/2566% เปลี่ยนแปลง
รายได้จากกิจการโรงแรม2,9992,51619%
รายได้รวม (รวมรายได้อื่น)3,2452,83215%
กำไรขั้นต้น1,9241,64817%
% อัตรากำไรขั้นต้น64%66%-2% pts
EBITDA1,3671,12222%
% EBITDA42%40%2% pts
กำไรสุทธิ63253817%
% อัตรากำไรสุทธิ19%19%
  • ไตรมาส 1/2567:

ในไตรมาส 1/2567 ภาพรวมรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของธุรกิจโรงแรมยังคงเติบโตได้ดีต่อเนื่องเทียบไตรมาสก่อนและปีก่อน จากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว โดยเห็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทั้งโรงแรมในประเทศและต่างประเทศ ภาพรวมรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของทั้งหมด (RevPar) เพิ่มขึ้น 19% อยู่ที่ 4,994 บาท แม้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยจาก 78% เป็น 77% ในไตรมาส 1/2567 แต่ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่ม 20% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 6,464 บาท 

  • กรุงเทพฯ: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เพิ่ม 10% เป็น 3,140 บาท จากการเพิ่มขึ้นของอัตราการเข้าพัก (OCC) จาก 73% เป็น 78% และราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่ม 4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 4,035 บาท ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของโรงแรมระดับ 5 ดาวเป็นสำคัญ
  • ต่างจังหวัด: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เพิ่ม 25% เป็น 4,569 บาท เป็นผลจากราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เติบโต  30% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 6,124 บาท ขณะที่อัตราการเข้าพัก (OCC) ลดลงจาก 78% เป็น 75% การเติบโตของรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เป็นผลจากการฟื้นตัวของโรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวเมืองหลักเป็นสำคัญ ทั้งนี้ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยาและโรงแรมเซ็นทารา กะรน บีช รีสอร์ท ภูเก็ต อยู่ระหว่างการปรับปรุงใหญ่ 
  • ต่างประเทศ:
    • มัลดีฟส์: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เติบโต 7% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 15,237 บาท อัตราการเข้าพัก (OCC) เพิ่มจาก 89% เป็น 92% และราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (ARR) 3% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 16,640 บาท อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในสกุลดอลลาร์สหรัฐ รายได้ทั้งหมดต่อห้องพักเฉลี่ย (TRevPar) ลดลง 2% เทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็น 621 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากรายได้อื่นที่ไม่ใช่ส่วนของค่าห้องพัก ลดลงเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
    • ดูไบ: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) 6,686 บาท เติบโต 24% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) 15% เป็น 7,441 บาท และอัตราการเข้าพัก (OCC) เพิ่มขึ้นจาก 83% เป็น 90% ไตรมาส 1/2567 
    • ญี่ปุ่น: ไตรมาส 1/2567 อยู่ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OCC) 67% ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) 7,045 บาท และรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) 4,740 บาท  
  • ไตรมาส 1/2567 ธุรกิจโรงแรมมีรายได้รวมอยู่ที่ 3,245 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 413 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 15%) จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 483 ล้านบาทจากการเติบโตของผลประกอบการของโรงแรมเดิมและโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ซึ่งเป็นโรงแรมใหม่ ขณะที่รายได้อื่นลดลง 70 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการลดลงของการรับรู้กำไรจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 19 ล้านบาท ธุรกิจโรงแรมมีกำไรขั้นต้นจำนวน 1,924 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,648 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  แม้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงจาก 66% เป็น 64% ในไตรมาส 1/2567 เนื่องจากอัตราการทำกำไรของโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มเปิดดำเนินการและยังเติบโตไม่เต็มที่ กอปรกับเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น แต่บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ดีขึ้นเทียบปีก่อน ส่งผลให้อัตรากำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และ ภาษีเงินได้ ต่อรายได้รวม (% EBITDA) เพิ่มขึ้นเป็น 42% (ไตรมาส 1/2566: 40%) โดยมีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA) จำนวน 1,367 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,122 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 22% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ธุรกิจโรงแรมมีกำไรสุทธิ 632 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 538 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 94 ล้านบาท หรือ 17% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 

2.2.2 ธุรกิจอาหาร 

ผลการดำเนินงานธุรกิจอาหารสำหรับไตรมาส 1/2567

% อัตราการเติบโตสาขาเดิม (SSS)1/25671/2566
4 แบรนด์หลัก1%9%
แบรนด์อื่นๆ – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร-3%7%
เฉลี่ย – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร1%8%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด– ไม่รวมคาเฟ่ อเมซอน – เวียดนาม1%8%
% อัตราการเติบโตจากยอดขายรวม  (TSS)1/25671/2566
4 แบรนด์หลัก5%14%
แบรนด์อื่นๆ – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร-8%23%
เฉลี่ย – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร3%15%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด– ไม่รวมคาเฟ่ อเมซอน – เวียดนาม7%29%
จำนวนสาขารายแบรนด์1/25671/2566
เค เอฟ ซี337322
มิสเตอร์โดนัท461471
อานตี้ แอนส์226213
โอโตยะ4947
เปปเปอร์ลันช์5051
โคลด์สโตน ครีมเมอรี่1616
เดอะ เทอเรส46
ชาบูตง ราเมน1517
โยชิโนยะ2429
เทนยะ1212
คัตสึยะ5961
อร่อยดี1029
เกาลูน11
อาริกาโตะ211195
แกร๊บคิทเช่น บาย เอเวอรีฟู้ด518
คีอานิ1
แบรนด์ร่วมทุน
สลัดแฟคทอรี(1)4131
บราวน์ คาเฟ่610
คาเฟ่ อเมซอน – เวียดนาม(1)2420
ส้มตำนัว85
ชินคันเซ็น ซูชิ(1)5845
รวม1,6181,599
  1. (1)แบรนด์ที่รวมอยู่ในการร่วมค้าในงบการเงิน

ผลการดำเนินงานธุรกิจอาหารสำหรับไตรมาส 1/2567 

ธุรกิจอาหาร (ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 1/2566% เปลี่ยนแปลง
รายได้จากการขาย3,1013,0103%
รายได้รวม (รวมรายได้อื่น)3,1443,0314%
กำไรขั้นต้น1,6831,6393%
% อัตรากำไรขั้นต้น54%54%
EBITDA549550
% EBITDA17%18%-1% pts
กำไรสุทธิ1249136%
% อัตรากำไรสุทธิ4%3%1% pts
  • สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2567 รายได้จากธุรกิจอาหารรวม 3,144 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 113 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 4%)  โดยบริษัทฯ มียอดขายของสาขาเดิม (%SSS) ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร เติบโตเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1% ขณะที่ภาพรวมอัตราการเติบโตจากยอดขายรวม (%TSS)ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร  อยู่ที่ 3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการเติบโตของรายได้มาจากแบรนด์หลักคือ เค เอฟ ซี, อานตี้แอนส์ และโอโตยะ เป็นสำคัญ 
  • ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2567 บริษัทฯ มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 1,618 สาขา (รวมแบรนด์ร่วมทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ) เพิ่มขึ้นสุทธิ 19 สาขา เติบโต 1% เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 1/2566 โดยบริษัทฯ มีการเน้นการขยายสาขากับแบรนด์หลัก ได้แก่  เคเอฟซี (+15)  อานตี้แอนส์ (+13) สลัดแฟคตอรี (+10) ชินคันเซ็น ซูชิ (+13)  สำหรับ อาริกาโตะ (+16)  เป็นการเพิ่มจำนวนสาขาที่อยู่กับร้าน มิสเตอร์โดนัท  (shop-in-shop) เป็นหลัก ขณะที่อร่อยดี และ แกร็บคิดเช่น บาย เอเวอรี่ฟูด ซึ่งมีรายได้หลักจากเดลิเวอรี่  ได้มีการปรับลดสาขาลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบปีก่อน ซึ่งเป็นการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร เพื่อปรับปรุงอัตราการทำกำไรของธุรกิจให้ดีขึ้น 
  • ในไตรมาส 1/2567 ธุรกิจอาหาร มีกำไรขั้นต้นจำนวน 1,683 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,639 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 54% ของรายได้จากธุรกิจอาหาร (ไม่รวมรายได้อื่น) ทรงตัวเทียบกับปีก่อน บริษัทฯมีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย  ดอกเบี้ยจ่าย  และภาษีเงินได้ (EBITDA) อยู่ที่ 549 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 550 ล้านบาท) และอัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม (% EBITDA) อยู่ที่ 17% ลดลงเล็กน้อยเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาส 1/2566: 18%)  อย่างไรก็ดี ธุรกิจอาหารมีกำไรสุทธิ 124 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 33 ล้านบาท หรือ 36% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตรากำไรสุทธิปรับตัวดีขึ้นจาก 3% เป็น 4% โดยในภาพรวมสำหรับไตรมาส 1/2567  นี้ แม้ว่าธุรกิจอาหารมีค่าใช้จ่ายด้านค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น แต่มีแนวโน้มต้นทุนวัตถุดิบที่ดีขึ้น และ ค่าใช้จ่ายทางค่าเสื่อมราคาลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2566
  1. สถานะทางการเงิน

ฐานะการเงินและกระแสเงินสด 

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 54,465 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 262 ล้านบาท เทียบสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์จำนวน 956 ล้านบาท และเงินลงทุนในการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 169 ล้านบาท ขณะที่เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง 495 ล้านบาท และลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นลดลง 203 ล้านบาท     

หนี้สินรวม มีจำนวน 33,292 ล้านบาท ลดลง 894 ล้านบาท หรือ 3% จากสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นสถาบันการเงินลดลง 300 ล้านบาท, เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นลดลง 499 ล้านบาท  และเงินกู้ยืมระยะยาวสถาบันการเงินลดลง 415 ล้านบาท ขณะที่หนี้สินตามสัญญาเช่าเพิ่มขึ้น 267 ล้านบาท  

บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมจำนวน 21,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 จำนวน 1,156 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากกำไรสุทธิของบริษัทฯจากผลประกอบการไตรมาส 1/2567 จำนวน 756 ล้านบาท 

สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,663 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 353 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 1,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 700 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ จำนวน 1,246 ล้านบาท

ในขณะที่มีเงินสดรับจากสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น 200 ล้านบาท และมีดอกเบี้ยรับจำนวน 93 ล้านบาท บริษัทฯมีกระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 1,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 190 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการชำระคืนเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำนวน 621 ล้านบาท,

ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 608 ล้านบาท, ชำระคืนเงินต้นของหนี้สินตามสัญญาเช่าจำนวน 312 ล้านบาท, และจ่ายดอกเบี้ย 138 ล้านบาท สุทธิด้วยเงินสดรับจากเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำนวน 300 ล้านบาท และเงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 186 ล้านบาท 

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนทางการเงินไตรมาส 1/2567ปี 2566
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า)0.50.5
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า)1.31.4
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (ไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า) ต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า)0.60.7

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ มีอัตราส่วนสภาพคล่องทรงตัวที่ 0.5 เท่า เทียบสิ้นปี 2566 ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้นลดลงเป็น 1.3 เท่า จากการเพิ่มขึ้นของส่วนผู้ถือหุ้นและการลดลงของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย เช่นเดียวกับอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (ไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า) ต่อส่วนผู้ถือหุ้น ลดลงเทียบสิ้นปีที่ผ่านมาเป็น 0.6 เท่า ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเงื่อนไขกับสถาบันการเงินเกี่ยวกับการรักษาอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (ไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า) ต่อส่วนผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 2.0 เท่า

  1. ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงาน
  •   ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานปี 2567

ธุรกิจโรงแรม: แม้ภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตได้ดีในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 1 โดยปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนอย่างมีนัยสำคัญ ประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความผันผวนของสภาวะอากาศที่รุนแรงและภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาจส่งผลต่อภาพรวมการท่องเที่ยว และต้นทุนการดำเนินงาน

ดังนั้น บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้วยความระมัดระวังโดยการปรับกลยุทธ์ทางการขายและตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง การติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ การมีวินัยทางการเงิน

ขณะที่บริษัทฯยังคงการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตในอนาคต ด้วยการจัดสรรเงินทุนอย่างระมัดระวัง  บริษัทฯ ได้จัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนที่เหมาะสมจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และการออกตราสารหนี้ในตลาดตราสารหนี้ รวมถึงการจ่ายคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดจากกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานเพื่อลดภาระดอกเบี้ย

  • ในปี 2567 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ระดับ 5 ดาวจำนวน 515 ห้อง จะเปิดดำเนินการเต็มปีเป็นปีแรก บริษัทฯ มีวิธีบันทึกการรับรู้ผลการดำเนินงานดังนี้
    • บริษัท Centara Osaka Japan Kabushiki Kaisha ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 100% และเป็นผู้เช่าทรัพย์สินเพื่อดำเนินกิจการโรงแรม บริษัทฯบันทึกผลการดำเนินงานของโรงแรมซึ่งดำเนินการโดยบริษัทย่อยทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงบการเงินรวม
    • บริษัท Centara Osaka Tokutei Mokutei Kaisha ปัจจุบัน บริษัทฯ ถือหุ้น 53% เป็นบริษัทร่วมทุนและเป็นผู้ถือทรัพย์สิน บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานและมูลค่าเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินรวม 
  • การปรับปรุงใหญ่ (Major Renovation) ทั้งส่วนห้องพักและพื้นที่สาธารณะ (Public Area) สำหรับโรงแรมในประเทศไทย 2 โรงแรมดังนี้:
    • โรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต จำนวน 335 ห้อง โดยเริ่มปิดโรงแรมทั้งหมดเพื่อปรับปรุงในช่วงไตรมาส3/2566 กำหนดจะทยอยเปิดดำเนินการในช่วงไตรมาส 4/2567 – ไตรมาส 2/2568 
    • โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา จำนวน 553 ห้อง ทยอยปิดปรับปรุง โดยเริ่มในช่วงไตรมาส 3/2566 กำหนดจะทยอยเปิดดำเนินการในแต่ละเฟสในช่วงไตรมาส 2/2567 – ไตรมาส 1/2568 
  • กำหนดเปิดโรงแรมเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ จำนวน 145 ห้อง ในไตรมาส 4/2567 และ โรงแรมเซ็นทารา   แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ จำนวน 142 ห้อง ในไตรมาส 1/2568 ซึ่งคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในช่วงเตรียมเปิดดำเนินการ (pre-opening expenses) รวมทั้ง 2 โรงแรมประมาณ 200 – 250 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะทยอยรับรู้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567

ธุรกิจอาหาร: ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหม่ๆ สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย  และ การบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพก็มีความสำคัญค่อนข้างมาก  บริษัทฯตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว และ ได้สร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยการหาแบรนด์ใหม่ๆเข้ามาเสริมทัพ

รวมถึงการหาช่องทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนของการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบ บริษัทฯได้มีการวางแผนในการเจรจาต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหาแหล่งวัตถุดิบทดแทน และมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับวัตถุดิบหลักในบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา

นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีการบริหารจัดการลดผลกระทบในกรณีที่ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นผ่านการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือจัดโปรโมชั่นหรือกิจกรรมส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ในส่วนของการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้ บริษัทฯได้มีการเตรียมการเพื่อบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น จัดตารางการทำงานพนักงานให้เป็นมาตรฐานตามยอดขาย 

อีกทั้ง บริษัทฯ มีแผนการปิดสาขาที่ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมายเพื่อรักษาอัตราทำกำไรของบริษัทฯ และพิจารณาเปิดสาขาใหม่ด้วยความระมัดระวังมากขึ้นโดยมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์หลักที่มีอัตราการทำกำไรสูง รวมถึงการปรับลดขนาดหรือปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สะท้อนกับยอดขายหรือกลุ่มลูกค้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน

แผนการเติบโตธุรกิจแบบยั่งยืน

บริษัทฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปีพ.ศ. 2593 ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะแรกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปีพ.ศ. 2572 (เทียบกับปีฐาน ปีพ.ศ. 2562)

ด้วยการบริหารจัดการการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และการจัดการของเสีย อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยกเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) ภายในปีพ.ศ. 2568 พร้อมทั้งให้โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราทุกแห่งได้รับการรับรองด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจาก Global Sustainable Tourism Council – GSTC ภายในปีพ.ศ. 2568 

นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจอาหารให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในระยะยาวด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน รวมถึงบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดคุณค่าร่วมและส่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กรพร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งและมั่นคงให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน 

  • แนวโน้มธุรกิจปี 2567
    • ธุรกิจโรงแรม: ภาพรวมปี 2567 คาดการณ์อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (รวมโรงแรมร่วมทุน) 70% – 73% และรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) อยู่ที่ 4,000 – 4,300 บาท โดยปัจจัยส่งเสริมการเติบโตที่สำคัญ:
      • การเติบโตอย่างต่อเนื่องโรงแรมระดับ 5 ดาวขึ้นไป ในประเทศไทย 
      • การเติบโตอย่างต่อเนื่องของโรงแรมเซ็นทารา มิราจ บีช รีสอร์ท ดูไบ
      • ผลการดำเนินงานของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ โอซาก้า จากการเปิดดำเนินการเต็มปีเป็นปีแรกในปี 2567 
  • ธุรกิจอาหาร: ในปี 2567 บริษัทฯ ประมาณการอัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) (ไม่รวมกิจการร่วมค้า) 3% – 5% เทียบปีก่อน และอัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) จะอยู่ในช่วง 8% – 11% เทียบปีที่ผ่านมา คาดว่าครึ่งปีหลังจะมีอัตราการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นการเติบโตจากฐานต่ำเทียบปีก่อนโดยการเติบโตของรายได้ยังคงมาจาก 4 แบรนด์หลักและแบรนด์ร่วมทุนเป็นสำคัญ สำหรับการเติบโตของจำนวนสาขา  บริษัทฯ คาดว่าจะมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นสุทธิ (รวมกิจการร่วมค้า) ประมาณ 80-95 สาขา (รวมสาขา shop-in-shop อาริกาโตะในมิสเตอร์โดนัท) หรือเติบโต 5% – 6% เทียบปีก่อน 

นายกันย์ ศรีสมพงษ์) ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร

ภาคผนวก

ผลกระทบทางการบัญชีจากการบันทึกสัญญาเช่าระยะยาวโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลล่า หัวหิน และ สัญญาเช่าโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ซึ่งมีผลต่อค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยจ่าย

ผลกระทบจากสัญญาเช่าระยะยาว  (หน่วย: ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 2/2567ไตรมาส 3/2567ไตรมาส 4/2567
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์บีชรีสอร์ทและวิลล่าหัวหิน
ค่าเสื่อมราคา(15)(15)(15)(15)
ดอกเบี้ยจ่าย(25)(24)(23)(23)
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์โอซาก้า
ค่าเสื่อมราคา(28)(28)(28)(28)
ดอกเบี้ยจ่าย(42)(42)(42)(42)
ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

เวียตเจ็ทเริ่มให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ฮานอย – ฮิโรชิมะ

สายการบินเวียตเจ็ท (เวียดนาม) เริ่มให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์บนเส้นทางบินตรงระหว่างฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม และฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นเส้นทางบินระหว่างเวียดนามและญี่ปุ่นเส้นทางที่ 8 ของเวียตเจ็ท รวมถึงเป็นสายการบินแรกในเวียดนามที่ให้บริการเส้นทางบินตรงระหว่างฮิโรชิมะและฮานอย

Vu Chi Mai กงสุลใหญ่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ณ เมืองฟูกูโอกะ Yuzaki Hidehiko ผู้ว่าราชการจังหวัดฮิโรชิมะ ผู้แทนกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวในฮิโรชิมะ ผู้บริหารจากท่าอากาศยานนานาชาติฮิโรชิมะและเวียตเจ็ท พร้อมด้วยประชาชน นักท่องเที่ยว และสื่อมวลชนร่วมพิธีเริ่มให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของเวียตเจ็ท พร้อมกันนี้ ผู้โดยสารที่เดินทางบนเที่ยวบินดังกล่าวได้รับของที่ระลึกจากสายการบินฯ และสนามบินฮิโรชิมะ

นาย Yasuhiro Nakamura ประธานและกรรมการผู้แทนท่าอากาศยานนานาชาติฮิโรชิมะ แสดงความยินดีกับเวียตเจ็ท กล่าวว่า “เที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง ฮานอย – ฮิโรชิมะ ของเวียตเจ็ทถือเป็นบริการเส้นทางบินระหว่างประเทศเส้นทางใหม่สู่สนามบินฮิโรชิมะเป็นครั้งแรกภายหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19

เราขอแสดงความยินดีและขอบคุณเวียตเจ็ทในการเริ่มให้บริการเที่ยวบินดังกล่าวเนื่องจากเป็นก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายบริการเส้นทางบินระหว่างประเทศของสนามบินฮิโรชิมะขณะที่ความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามุ่งมั่นร่วมมือกับสายการบินฯ เพื่อเพิ่มความถี่ในการให้บริการและตั้งตารอการขยายเครือข่ายเที่ยวบินของเวียตเจ็ทสู่ฮิโรชิมะ”

นาย Nguyen Duc Thinh รองประธานสายการบินเวียตเจ็ท แสดงความขอบคุณการสนับสนุนจากทางการญี่ปุ่นและพันธมิตรในท้องถิ่น กล่าวว่า “ขณะนี้ เวียตเจ็ทให้บริการเที่ยวบิน 116 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ระหว่างเมืองใหญ่ของเวียดนามสู่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในญี่ปุ่น อาทิ โตเกียว โอซาก้า ฟูกุโอกะ นาโกย่า และฮิโรชิมะ สายการบินฯ มุ่งมั่นขยายเครือข่ายเส้นทางบินเชื่อมต่อระหว่างเวียดนามและญี่ปุ่นเพื่อมอบตัวเลือกการเดินทางที่สะดวก คุ้มค่า และประหยัดเวลาแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศและทั่วภูมิภาค”

ในช่วงเริ่มต้น เส้นทางบินระหว่างประเทศ ฮานอย – ฮิโรชิมะ จะให้บริการด้วยความถี่ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทุกวันพฤหัสบดี และอาทิตย์ ใช้เวลาปฏิบัติการบิน 4 ชั่วโมง 30 นาที โดยประมาณ ดังตารางเที่ยวบินต่อไปนี้

เพื่อฉลองเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ฮานอย – ฮิโรชิมะ สายการบินฯ เสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษเริ่มต้นเพียง 0 บาท (ราคาไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียม) สำหรับทุกเส้นทางบินระหว่างประเทศ ผู้โดยสารสามารถสำรองบัตรโดยสารราคาโปรโมชั่นได้ทุกวันศุกร์ เดินทางได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ที่ www.vietjetair.com

ฮานอยเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของเวียดนาม พร้อมด้วยมรดกทางอาหารอันน่าทึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจากฮานอยสู่จุดหมายปลายทางอื่น ๆ ในเวียดนามและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกัน ฮิโรชิมะตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น เป็นแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโกสองแห่ง ได้แก่ สวนอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ และศาลเจ้าอิทสึคุชิมะ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย

ผู้โดยสารที่เดินทางกับเวียตเจ็ทสามารถเพลิดเพลินกับอาหารเวียดนามที่มีเอกลักษณ์บนเที่ยวบิน อาทิ เฝอ บั๋นหมี กาแฟ และอีกมากมาย รวมถึงอาหารนานาชาติที่เสิร์ฟโดยลูกเรือที่ให้บริการด้วยความเป็นมืออาชีพบนเครื่องบินที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประกันภัย Sky Care โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อความอุ่นใจตลอดการเดินทาง

การเงิน-หุ้น, ธุรกิจ

TTA ปลื้มไตรมาสแรกปี 67 โกยกำไรสุทธิ 1,116.0 ล้านบาท เป็นผลมาจากอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าที่สูงขึ้น และรายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA มีรายได้ จำนวน 6,523.1 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2567 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง และกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มการลงทุนอื่น มีสัดส่วนรายได้ร้อยละ 26 ร้อยละ 48 ร้อยละ 11 ร้อยละ 9 และร้อยละ 6 ของรายได้รวม ตามลำดับ

โดยสรุป TTA รายงานผลกำไรสุทธิอย่างแข็งแกร่ง จำนวน 1,116.0 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2567 และเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญร้อยละ 419 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ TTA มีโครงสร้างเงินทุนยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งเห็นได้จากอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ 0.42 เท่า ณ สิ้นไตรมาส

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า “ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1/2567 ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของกระแสเงินสดที่ดีและความสามารถในการทำกำไรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือและกลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่งเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง

แม้ว่าภาวะการค้าขายของโลกอาจจะชะงักงันบ้าง เนื่องจากการสู้รบในทะเลแดง ความตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซีย และสงครามที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในยูเครน แต่โทรีเซน ชิปปิ้ง ยังคงรักษาอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ยได้สูงกว่าตลาด นอกจากนั้น Liengaard & Roschmann 

ที่ได้ทำการประเมินอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าของบริษัทจดทะเบียนที่ให้บริการขนส่งสินค้าแห้งเทกองในระดับสากล ได้เผยแพร่รายงาน “Vesselindex Performance” ฉบับล่าสุด ซึ่งปรากฏว่า โทรีเซน ชิปปิ้ง ติดอยู่ในระดับสามของโลก ด้วยอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ยสูงกว่าตลาด อยู่ที่ 3,790 ดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ 38.6  

ในขณะที่ เมอร์เมด ยังคงทำผลงานได้ยอดเยี่ยม ในด้านงานวิศวกรรมใต้ทะเล (Subsea-IRM) และงานรื้อถอน (Decommissioning) งานขนส่งและติดตั้ง (Transportation & Installation: T&I) ดังนั้น เราจึงมั่นใจว่าเมอร์เมด มีอนาคตที่สดใส และมีศักยภาพที่จะขยายธุรกิจให้บริการนอกชายฝั่งในประเทศไทย ตะวันออกกลาง และสหราชอาณาจักร ให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง”

ผลการดำเนินงานของรายกลุ่มธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ :

รายได้ค่าระวางของโทรีเซน ชิปปิ้ง อยู่ที่ 1,690.4 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2567 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน เนื่องจากอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ยที่สูงขึ้น โดยอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าเฉลี่ยของกลุ่มธุรกิจฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปีก่อน มาอยู่ที่ 15,932 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน

และอัตราการใช้ประโยชน์เรือยังคงสูงอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 100 และมีอัตราค่าระวางเรือเทียบเท่าสูงสุดอยู่ที่ 36,343 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในขณะที่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของเรือ (OPEX) อยู่ที่ 4,113 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ดังนั้น กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 854.5 ล้านบาท เช่นเดียวกับ EBITDA ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 815.5 ล้านบาท

ดังนั้น ไตรมาสที่ 1/2567 โทรีเซน ชิปปิ้ง รายงานผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 656.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญร้อยละ 56 เมื่อเทียบกับปีก่อน โทรีเซน ชิปปิ้ง เป็นเจ้าของเรือ จำนวน 24 ลำ (เรือซุปราแมกซ์ จำนวน 22 ลำ และเรืออัลตราแมกซ์ จำนวน 2 ลำ) มีระวางบรรทุกเฉลี่ยเท่ากับ 55,913 เดทเวทตัน (DWT) และมีอายุเฉลี่ย 16.0 ปี

กลุ่มธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง :

บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) หรือเมอร์เมด รายงานรายได้ 3,139.0 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2567 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 112 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของงานวิศวกรรมใต้ทะเล (Subsea-IRM) และงานรื้อถอน (Decommissioning) 

งานขนส่งและติดตั้ง(Transportation & Installation: T&I) โดยรายได้จากงานวิศวกรรมใต้ทะเล งานรื้อถอน งานขนส่งและติดตั้ง และงานวางสายเคเบิลใต้ทะเล มีสัดส่วนร้อยละ 52 ร้อยละ 34 และร้อยละ 14 ของรายได้รวมของกลุ่มธุรกิจฯ ตามลำดับ

ในส่วนของรายได้จากงานวิศวกรรมใต้ทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญร้อยละ 88 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของงานที่ไม่ใช้เรือในโครงการวิศวกรรมใต้ทะเลด้านสำรวจและซ่อมบำรุง และรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 เทียบกับช่วงเดียวกันของไตรมาสก่อน จากอัตราการใช้ประโยชน์ของเรือวิศวกรรมใต้ทะเลที่เพิ่มขึ้น

โดยอัตราการใช้ประโยชน์ของเรือวิศวกรรมใต้ทะเลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 83 ในไตรมาสที่ 1/2567  ในขณะที่ รายได้จากงานรื้อถอน งานขนส่งและติดตั้ง และงานวางสายเคเบิลใต้ทะเล เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญร้อยละ 119 เมื่อเทียบกับปีก่อน

สาเหตุหลักมาจากการขยายธุรกิจของงานรื้อถอน งานขนส่งและติดตั้งในประเทศไทย ส่งผลให้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่ร้อยละ 180 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 479.2 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ EBITDA เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญร้อยละ 463 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 281.3 ล้านบาท

โดยสรุป เมอร์เมด รายงานผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 6.9 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1/2567 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญร้อยละ 107 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีมูลค่าสัญญาให้บริการที่รอส่งมอบที่แข็งแกร่ง จำนวน 734.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นไตรมาส

กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร :

ในไตรมาสที่ 1/2567 บริษัท พีเอ็ม โทรีเซน เอเชีย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PMTA รายงานรายได้รวมที่ 711.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากปริมาณการขายปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น โดยมีรายได้จากการขายปุ๋ยทั้งในประเทศและส่งออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 87 

เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการขายปุ๋ยรวมอยู่ที่ 32.3 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 130 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการฟื้นตัวของความต้องการใช้ปุ๋ยในประเทศเวียดนาม ซึ่งปริมาณขายปุ๋ยในประเทศเวียดนามอยู่ที่ 25.6 พันตัน คิดเป็นร้อยละ 79 ของปริมาณขายปุ๋ยทั้งหมด

ขณะที่ปริมาณส่งออกปุ๋ยอยู่ที่ 6.8 พันตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 98 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากปริมาณส่งออกปุ๋ยไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการขยายตัว  สำหรับรายได้จากผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อการเกษตรอื่น (pesticide) ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 32.7 ล้านบาท

รายได้จากการให้บริการจัดการพื้นที่โรงงานลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 27.1 ล้านบาท จากกิจกรรมของคลังสินค้าที่ลดลง ส่งผลให้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 229 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 99.9 ล้านบาท

และ EBITDA อยู่ที่ 32.1 ล้านบาท ปรับตัวดีขึ้น ร้อยละ 511 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยสรุป PMTA รายงานผลกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TTA จำนวน 3.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 112 ในไตรมาสที่ 1/2567

กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage)

พิซซ่า ฮัท ดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 พิซซ่า ฮัท มีสาขาจำนวน 186 สาขาทั่วประเทศ ซึ่งสาขาทั้งหมดเป็นสาขาที่เปิดตามหัวเมืองใหญ่

ทาโก้ เบลล์ เป็นแฟรนไชส์อาหารสไตล์เม็กซิกันที่มีชื่อเสียงชั้นนำระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ดำเนินงานภายใต้บริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 70 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 ทาโก้ เบลล์ มี 26 สาขาทั่วประเทศ

กลุ่มการลงทุนอื่น (Investment) มุ่งเน้นธุรกิจการบริหารทรัพยากรน้ำและโลจิสติกส์

บริษัท เอเชีย อินฟราสตรักเชอร์ แมเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AIM ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ TTA ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 91.87 เป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง และให้บริการครบวงจรทางด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ AIM ยังได้รับสัมปทานในการจำหน่ายน้ำประปาในหลวงพระบาง ประเทศลาว ผ่านบริษัทย่อยที่ AIM ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100

ธุรกิจ

อินโดรามา เวนเจอร์ส สนับสนุนกีฬายกน้ำหนักรักษ์โลก ในการแข่งขันยกน้ำหนัก 2024 IWF World Cup ที่ภูเก็ต

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ร่วมสนับสนุนสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในวาระที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันยกน้ำหนัก 2024 IWF World Cup ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ซึ่งเป็นการแข่งขันรอบคัดเลือกรอบสุดท้ายของนักกีฬาเพื่อไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยผลการตัดสินประเทศไทยได้โควตาไปแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 4 ที่นั่ง แยกเป็นชาย 2 ที่นั่ง รุ่น 61 กิโลกรัม และ รุ่น 73 กิโลกรัม ส่วนหญิง 2 ที่นั่ง รุ่น 49 กิโลกรัม และ รุ่นมากกว่า 81 กิโลกรัม

ความร่วมมือระหว่างอินโดรามา เวนเจอร์ส และสมาคมฯ ในครั้งนี้นับเป็นการร่วมสนับสนุนวงการกีฬายกน้ำหนักไทยให้ตระหนักด้านความยั่งยืนด้วยการรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส รณรงค์ให้ความรู้ในการคัดแยกขยะขวด PET ให้ถูกต้อง และสนับสนุนจุดทิ้งขวด PET ที่ใช้งานแล้วให้กับคณะผู้จัดงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางด้าน CSR ของอินโดรามา เวนเจอร์ส ในการปรับใช้พลังด้านการศึกษาในการสร้างคุณค่าให้แก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมม

ขวด PET ที่เก็บรวบรวมได้ยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ที่ดูแลสถานที่จัดงานในการนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อ นอกจากนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส ยังมอบเสื้อโปโลรักษ์โลก จำนวน 2,000 ตัว ที่ผลิตจากเส้นด้าย Deja™ ที่ทำจากขวด PET รีไซเคิล (rPET) 100% เพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้เข้าร่วมงานทุกคน

โดยเสื้อโปโล 1 ตัว ผลิตมาจากขวด PET ขนาด 600 มิลลิลิตร จำนวน 12 ขวด ซึ่งมีคุณสมบัติในการระบายอากาศ ซับน้ำได้ดี แห้งเร็ว ให้ความสบายในการสวมใส่ การดำเนินงานเหล่านี้ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและการดูแลสิ่งแวดล้อมของทั้งสององค์กร และส่งเสริมความมุ่งมั่นของอินโดรามา เวนเจอร์ส ที่มีเป้าหมายให้ความรู้ด้านการรีไซเคิลให้เข้าถึงผู้คนถึง 1 ล้านคนทั่วโลก

นางสุจิตรา โลเฮีย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “การเป็นพันธมิตรระหว่างอินโดรามา เวนเจอร์ส กับสมาคมยกน้ำหนักฯ ครั้งนี้ เป็นการสนับสนุนวิสัยทัศน์ที่มีร่วมกันในเรื่องปณิธานด้านความยั่งยืน และจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม

เรามีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินงานด้าน CSR ให้สอดคล้องกับการสร้างคุณค่าร่วมทางสังคมด้วยการรณรงค์และส่งเสริมการเรียนรู้ด้านรีไซเคิล (Recycling education) การคัดแยกขยะที่ถูกต้องเพื่อนำไปรีไซเคิล รวมถึงการสนับสนุนวงการกีฬาให้หันมาสนใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น

โดยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส สนับสนุนทุนสำหรับการดำเนินงานเพื่อเพิ่มศักยภาพนักกีฬายกน้ำหนักของไทย ซึ่งที่ผ่านมาสามารถทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจในเวทีระดับโลกมาแล้วหลายครั้ง และเราขอแสดงความยินดีกับนักกีฬายกน้ำหนักไทยทั้ง 4 ท่านที่สามารถก้าวเข้าสู่เวทีโอลิมปิกในปีนี้ได้อย่างเต็มภาคภูมิ”

“เสธ.ยอด” พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย แสดงความขอบคุณจากใจ โดยประกาศว่า “ความร่วมมือของ อินโดรามา เวนเจอร์ส ไม่ใช่แค่การสนับสนุนกีฬายกน้ำหนักเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงสปิริตด้านกีฬาอีกด้วย

และการสนับสนุนอย่างแน่วแน่ของพวกเขาช่วยขับเคลื่อนเราไปสู่ความยั่งยืนอีกระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานที่สร้างแรงบันดาลใจสำหรับความรับผิดชอบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของสมาคมฯ ของเราอีกด้วย”

ธุรกิจ

แกร็บ ผนึกภาครัฐ-เอกชนจัดเสวนาเชิงนโยบาย “GrabNEXT 2024” ฉายภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หนุนซอฟต์พาวเวอร์-ผลักดันเศรษฐกิจไท

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เดินหน้าส่งเสริมและผลักดันการท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืนตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมร่วมเป็นประธานเปิดงานเสวนาเชิงนโยบายประจำปี “GrabNEXT 2024: Driving towards the Future of Tourism 

ขับเคลื่อนการท่องเที่ยว สู่อนาคตที่ดีกว่า” ซึ่งจัดขึ้นโดย แกร็บ ประเทศไทย เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ ด้วยการยกระดับการท่องเที่ยวไทยให้พร้อมตอบสนองพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุคใหม่ผ่านกลยุทธ์ “T.R.A.V.E.L.” พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งจากภาครัฐและเอกชน

อันได้แก่ นายนิธิ สีแพร รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรติ นางสาวเพลินพิศ โกศลยุทธสาร ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวและพันธมิตร บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า “การทำให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ถือเป็นเป้าหมายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในปีนี้  ซึ่งนอกจากการที่กระทรวงต้องการยกระดับประเทศไทยให้เป็น Tourism Hub หรือศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค

เรายังต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายของการเป็น Aviation Hub ที่มีศักยภาพรองรับนักท่องเที่ยวและผู้เดินทางกว่า 150 ล้านคนต่อปีภายในปี 2573 ตามนโยบายของรัฐบาลด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ จากการที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ทำให้ทางกระทรวงมีการตั้งเป้าหมายรายได้จากการท่องเที่ยวอยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท โดยการที่จะบรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากหน่วยงานทุกภาคส่วน

ซึ่งทางกระทรวง ต้องขอขอบคุณ แกร็บ ประเทศไทย ที่จัดงานในครั้งนี้ พร้อมทั้งยังช่วยสนับสนุน ผลักดัน การเดินทางท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพทั่วประเทศไทยด้วยดีเสมอมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าองค์กรต่างๆ จะเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และนำพาเศรษฐกิจไทยให้เจริญรุดหน้าต่อไป

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า “การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวถือเป็นเป้าหมายหลักที่รัฐบาลเร่งผลักดันเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลได้ประกาศวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งหนึ่งในวิสัยทัศน์สำคัญคือการพลิกฟื้นการท่องเที่ยว และตั้งเป้าผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของภูมิภาค (Tourism Hub) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมเศรษฐกิจ แกร็บจึงได้จัดงาน GrabNEXT เพื่อนำความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี และความแข็งแกร่งของอีโคซิสเต็มของแกร็บที่ให้บริการครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเติมเต็มและสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ไร้รอยต่อ ผ่านกลยุทธ์  T.R.A.V.E.L. ที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางมายังประเทศไทย พร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นและมหภาค และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน” 

เพื่อเป็นการสานต่อแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในการยกระดับการท่องเที่ยวให้พร้อมตอบสนองพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ แกร็บจึงได้เผยกลยุทธ์ T.R.A.V.E.L. ซึ่งประกอบไปด้วย 6 ประเด็นสำคัญ ได้แก่

  • Technological Integration การนำเทคโนโลยีดิจิทัลอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว:

นักท่องเที่ยวในกลุ่ม F.I.T. (Free Independent Travelers) หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตนเองกลายเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่เดินทางมาประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในกลุ่มนี้ แกร็บ จึงได้ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีมาเพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว

ตั้งแต่การวางแผนการเดินทางไปจนถึงการอำนวยความสะดวกระหว่างการท่องเที่ยว อาทิ หน้าจอต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถสำรวจ และวางแผนการเดินทางบนแอปพลิเคชัน Grab ตั้งแต่ก่อนมาถึงประเทศไทย การพัฒนาแอปพลิเคชันให้มีหลายภาษา

ทั้งอังกฤษ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลี หรือ การเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันชั้นนำให้สามารถใช้บริการเรียกรถของ Grab ผ่านแพลตฟอร์มอย่าง WeChat Booking.com และ Trip.com ได้ รวมถึง การขยายช่องทางการชำระเงินดิจิทัลผ่าน Alipay และ Kakao Pay

  • Reliability & Safety การสร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว:

ความปลอดภัยเป็นปัจจัยหลักที่นักท่องเที่ยวคำนึงถึงในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกที่พัก หรือการใช้บริการขนส่งสาธารณะต่างๆ ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยว แกร็บ จึงได้ยกระดับความปลอดภัยผ่านการพัฒนา 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ เทคโนโลยีด้านความปลอดภัย อาทิ ฟีเจอร์ Safety Centre สำหรับแจ้งขอความช่วยเหลือ หรือ ฟีเจอร์ Audio Protect 

เพื่อบันทึกเสียงระหว่างการเดินทาง มาตรการด้านความปลอดภัย ด้วยการคัดกรองและอบรมพาร์ทเนอร์คนขับ การกำหนดมาตรฐานการให้บริการที่มุ่งเน้นด้านความปลอดภัย และการทำประกันเพื่อคุ้มครองทั้งผู้โดยสารและพาร์ทเนอร์คนขับ และสุดท้ายกับการจัดแคมเปญรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย ที่ล่าสุด แกร็บได้จับมือกับกรุงเทพมหานคร เพื่อรณรงค์เรื่องการขับขี่ปลอดภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา

  • Accessibility การส่งเสริมการเดินทางเพื่อเข้าถึงเมืองหลัก และเมืองรอง:

ปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติหันมาสนใจเดินทางไปยังเมืองรองมากขึ้น สะท้อนจากรายได้จากการท่องเที่ยวเมืองรองในปีที่ผ่านที่เติบโตขึ้นถึง 38%[1] ดังนั้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังจังหวัดในเมืองหลักและเมืองรองได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น แกร็บ จึงได้มุ่งสร้างประสบการณ์การเดินทางแบบไร้รอยต่อด้วยบริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันที่มีให้บริการแล้วใน 71 จังหวัด

ครอบคลุมทั้งเมืองหลักและเมืองรอง ทั้งยังได้ผนึกความร่วมมือกับ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพื่อให้บริการในสนามบินหลัก ทั้งภูเก็ต เชียงใหม่ ดอนเมือง และสุวรรณภูมิ

  • Valuable Experiences การสร้างประสบการณ์การเดินทางที่น่าจดจำ:

ความเป็นเลิศในด้านการบริการที่สอดแทรกเสน่ห์ของความเป็นไทยเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดและพิชิตใจนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางกลับมายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวในทุกเที่ยวการเดินทาง แกร็บ จึงได้พัฒนาศักยภาพให้กับพาร์ทเนอร์คนขับผ่านคอร์สอบรมออนไลน์ภายใต้โครงการ GrabAcademy 

ครอบคลุมทั้งในด้านมาตรฐานการให้บริการ การสื่อสารภาษาต่างประเทศเบื้องต้น และการขับขี่อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังได้ยกระดับประสบการณ์การเดินทางให้พิเศษยิ่งขึ้นผ่านบริการ GrabCar Premium ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยมอบความสะดวกสบายสุดเอ็กซ์คลูซีฟให้กับนักท่องเที่ยวในทุกการเดินทาง

  • Environmentally Friendly การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบรักษ์โลก: 

การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมถือเป็นประเด็นสำคัญที่คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ซึ่งจากการสำรวจพบว่ากว่า 90% ของนักท่องเที่ยวให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน[2]  เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน แกร็บ จึงได้มุ่งพัฒนาและนำเสนอตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การริเริ่มโครงการ Grab EV 

ที่ส่งเสริมให้พาร์ทเนอร์คนขับเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในการให้บริการเรียกรถ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้โดยสาร และการพัฒนาฟีเจอร์ชดเชยการปล่อยคาร์บอน (Carbon Offset) ที่ผู้ใช้บริการสามารถร่วมบริจาคเงิน 2 บาทต่อการเดินทาง หรือ 1 บาทจากการสั่งอาหาร เพื่อนำไปปลูกต้นไม้เพื่อชดเชยคาร์บอน ซึ่งจากการบริจาคเงินของผู้ใช้บริการในปี 2566 แกร็บสามารถนำไปปลูกต้นไม้ได้เป็นจำนวนกว่า 150,000 ต้น 

  • Local Touch การผลักดันให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น:

การดึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยมาพัฒนาเป็นซอฟต์พาวเวอร์ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวถือเป็นกลยุทธ์ระดับชาติในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยจากการสำรวจพบว่า 65% ของนักท่องเที่ยวให้ความสนใจที่จะมาสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น การไปเทศกาลประจำจังหวัดต่างๆ การได้ลิ้มลองอาหารพื้่นบ้าน หรือการอุดหนุนสินค้าชุมชน

ดังนั้น แกร็บ ในฐานะแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้บริโภคกับผู้ประกอบการรายย่อย และพาร์ทเนอร์คนขับ จึงได้มุ่งสนับสนุนการเข้าถึงประสบการณ์ท้องถิ่น และวัฒนธรรมไทยในมิติต่างๆ อาทิ การส่งเสริมการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจผ่านการทำหนังสือไกด์บุค Grab & Go 

ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การโปรโมทอาหารไทยเมนูเด็ดจากร้านอาหารรายย่อยผ่าน GrabFood และการจำหน่ายสินค้าท้องถิ่นฝีมือคนไทยผ่าน GrabMart เพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถเลือกซื้อได้สะดวกยิ่งขึ้น เป็นต้น

ภายในงานยังได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “พลิกโฉมประสบการณ์การท่องเที่ยวไทย สู่มาตรฐานใหม่ที่ยั่งยืน” โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่ นายนิธิ สีแพร รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร 

นางสาวเพลินพิศ โกศลยุทธสาร ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวและพันธมิตร บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นางสาวเมธิณี อนวัชกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจการเดินทางและบริหารพาร์ทเนอร์คนขับ แกร็บ ประเทศไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหารือถึงแนวทาง

ในการผลักดันท่องเที่ยวให้ตอบรับกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวยุคใหม่ โดยมุ่งเน้นไปที่ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ทิศทางและอนาคตการท่องเที่ยวของประเทศไทย การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยของการท่องเที่ยว การสนับสนุนประสบการณ์ท้องถิ่นชูจุดเด่นซอฟต์พาวเวอร์ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างสมดุลระหว่างสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

ตลาด, ธุรกิจ

เซ็นทรัลพัฒนา จัดดีลโดนใจ “ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า กับบัตรเครดิต ttb” มอบประสบการณ์ช้อป กิน เที่ยว ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 5 สาขา 15 พ.ค.- 30 มิ.ย. 67

ยืนหนึ่งเรื่องความคุ้ม เซ็นทรัลพัฒนา จับมือบัตรเครดิตทีทีบี จัดดีลเด็ดคุ้มโดนใจตอบโจทย์สายช้อป สายกิน ในแคมเปญ “ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า กับบัตรเครดิต TTB” เมื่อช้อปสะสมครบ 4,000 บาท / วัน รับ Magic Gift Voucher 200 บาท หรือรับประทานอาหารร้านครบ 1,000 บาท/ เซลล์สลิป รับ Magic Gift Voucher 100 บาท

พร้อมรับส่วนลดสูงสุด 50% หรือสิทธิพิเศษ ณ ร้านอาหารที่ร่วมรายการ กิน-ช้อปครบแล้วอย่าลืมไปลงทะเบียนรับสิทธิ์ ณ จุดลงทะเบียนที่เคาน์เตอร์แลกของสมนาคุณ ภายในวันที่ซื้อ ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 5 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, ปิ่นเกล้า, พระราม 9 และ เวสต์เกต ระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 67 – 30 มิถุนายน 67

ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “เซ็นทรัลพัฒนาในฐานะการเป็นศูนย์กลางในการใช้ชีวิต หรือ Centre of Life ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า โดยเราได้ผนึกกับพันธมิตรศักยภาพอย่างบัตรเครดิต ttb ที่มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่ง เพื่อมอบสิทธิประโยชน์คุ้มค่าแก่ลูกค้าที่มาช้อป กิน เที่ยว

ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลในแคมเปญ “ช้อปคุ้ม อิ่มครบ ได้มากกว่า กับบัตรเครดิต ttb” โดยได้รับความร่วมมือจากร้านค้าและร้านอาหารชั้นนำมาผนึกกำลังสร้างสรรค์โปรโมชั่นที่ตรงใจลูกค้า เพื่อสร้างความคุ้มค่าและตอบโจทย์ด้านการใช้จ่ายยิ่งขึ้น ได้แก่

โปรโมชั่น ช้อปคุ้ม : สะสมยอดช้อปครบ 4,000 บาทขึ้นไป / วัน ในโซนศูนย์การค้าเซ็นทรัล 5 สาขาแลกรับ Magic Gift Voucher มูลค่า 200 บาท จำกัด 1 สิทธิ์ (200 บาท) / หมายเลขเดอะวัน / วัน และสูงสุดรวม 5 สิทธิ์ (1,000 บาท) รวม 2,500 สิทธิ์ ตลอดรายการ

โปรโมชั่น อิ่มครบ : ต่อที่ 1: รับส่วนลดสูงสุด 50% หรือสิทธิพิเศษ ณ ร้านอาหารที่ร่วมรายการภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัล 5 สาขา ที่ร้าน Baan Ying, Camin cuisine & café, Cheevit Cheeva, Chubby Dough, Coffee Beans by Dao, Earw Thai, Fatties, Four Seasons, Hongmin, Kabocha Sushi, Kiew Kai Ka, Learksenlennam, Maguro, Mom & Sis The Smoothie Café, Mom’s Touch,

Nam Nam Pasta and Tapas, Saemaeul Sikdang, Salt // Pepper, Santa Fe’ Steak, Siam แหนมเนือง, Souri, SSamthing Together, Sushiro, Swensen’s, Tankun, Texas Chicken, Tonchin Ramen, Tsujiri, เหลือใจ, แม่ศรีเรือน, มานี มีหม้อ ต่อที่ 2: รับ Magic Gift Voucher 100 บาท เมื่ออิ่มครบ 1,000 บาทขึ้นไป / เซลล์สลิป จำกัด 1 สิทธิ์ (100 บาท) / หมายเลขเดอะวัน / วัน และสูงสุดรวม 5 สิทธิ์ (500 บาท) รวม 3,000 สิทธิ์ ตลอดรายการ

การเงิน-หุ้น, ธุรกิจ

AHC โชว์งบไตรมาส 1/67 รายได้ 446.28 ล้านบาท Q2/67 เปิดศูนย์บริการเต็มอัตรา พร้อมจับมือพันธมิตรใหม่

AHC เผยผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 67 รายได้รวม 446.28 ล้านบาท เติบโต 5% กำไรสุทธิ 27.70 ล้านบาท เตรียมเปิดศูนย์ดูแลสุขภาพ รักษาโรคเฉพาะทางให้บริการเต็มอัตรา เล็งจับมือพันธมิตรไต้หวัน ให้บริการตรวจเช็คโรคความเสี่ยงที่เกิดจากพันธุกรรม พร้อมพัฒนาศักยภาพอุปกรณ์ทางการแพทย์ ขยายฐานครอบคลุมผู้ใช้บริการ

นายสิริพจน์ มาโนช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กร บริษัท โรงพยาบาลเอกชล จำกัด (มหาชน) หรือ AHC โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกใน จ.ชลบุรี เปิดเผยว่า ผลประกอบการไตรมาส 1   ปี 2567 บริษัทมีรายได้รวม 446.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้น  5 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวม 425.16 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 27.70 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 41.96 ล้านบาท

ผลประกอบการของบริษัทในส่วนของรายได้รวมมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลยังมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้น จากการให้บริการตรวจรักษาปกติทั้ง IPD (In-Patient Department) หรือ “ผู้ป่วยใน” และ OPD (Out-Patient Department) หรือ “ผู้ป่วยนอก”

ขณะที่กำไรสุทธิปรับลดลงเนื่องจากการลงทุนปรับปรุงรีโนเวทหอพักผู้ป่วยใน ห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU)  รวมทั้งค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการ การปรับเพิ่มค่าตอบแทนพนักงาน และต้นทุนประกันสังคมที่สูงขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์

สำหรับแนวโน้มธุรกิจไตรมาส 2/67 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากไฮซีซั่นธุรกิจ มีความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ตรวจรักษาเพิ่มขึ้น อีกทั้งมีแผนจับมือพันธมิตรไต้หวัน เพื่อนำนวัตกรรมตรวจเช็คโรคความเสี่ยงที่เกิดจากพันธุกรรมมาเปิดให้บริการ เพื่อขยายฐานลูกค้าในวงกว้าง

นอกจากนี้เตรียมเปิดให้บริการหอพักผู้ป่วยใน ห้องผู้ป่วยวิกฤต (ICU) ที่ได้ปรับปรุงใหม่ เพื่อรองรับผู้ใช้บริการอย่างเต็มระบบ พร้อมพัฒนาศักยภาพอุปกรณ์การแพทย์ด้านหัตถการ อีกทั้งอยู่ระหว่างพิจารณาจัดตั้งศูนย์ดูแลสุขภาพและรักษาโรคเฉพาะทางอื่นๆ เพื่อขยายฐานครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกเพศทุกวัย

การเงิน-หุ้น, ธุรกิจ

WICE มั่นใจปีนี้โตตามเป้า 20% หลังค่าระวางเรือปรับขึ้น เดินหน้าตามแผนขยายการลงทุน ครอบคลุมเครือข่ายโลจิสติกส์ครบวงจร

บมจ. ไวส์ โลจิสติกส์ หรือ “WICE” มั่นใจผลงานปีนี้มาตามนัด เผยผลงานไตรมาส 1/67กวาดรายได้ 976 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 39ล้านบาท หลังอัตราค่าระวางเรือปรับตัวดีขึ้น

ประกอบกับปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น ย้ำรายได้ปีนี้โตไม่น้อยกว่า 20% ลั่นเดินหน้าตามแผนต่อเนื่อง พร้อมแย้มศึกษาลงทุนขยายธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง หวังสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในอนาคต

นายชูเดช คงสุนทร กรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไวส์ โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศแบบครบวงจร เปิดเผยถึงผลดำเนินการไตรมาส 1/67 ว่า บริษัทมีรายได้รวมที่ 976 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากไตรมาสก่อน และมีกำไรสุทธิที่ 39 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 95% จากไตรมาสก่อน

เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หลังจากชะลอตัวในปีที่ผ่านมา รวมถึงอัตราค่าระวางเรือที่มีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณการนำเข้าและส่งออกฟื้นตัวขึ้นอีกด้วย 

สำหรับปี 2567 บริษัทมั่นใจว่า การดำเนินงานจะมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังอัตราค่าระวางเรือที่มีการปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการขยายธุรกิจใหม่ๆของ WICE ที่จะทยอยสร้างรายได้เพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจการให้บริการขนส่งเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง จาก สปป.ลาวมายังท่าเรือแหลมฉบัง  รวมถึงการให้บริการขนส่งเมล็ดกาแฟดิบ

จากบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ซึ่งเป็นโครงการทดลองระบบการขนส่งระยะไกลด้วยยานยนต์เชื้อเพลิงไฟฟ้า (EV) ที่จะทยอยรับรู้รายได้ในช่วงกลางปีนี้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายพื้นที่ในการบริหารคลังสินค้าใหม่ โดยบริษัทฯ ได้วางตั้งเป้าขยายพื้นที่อีก 20,000 ตารางเมตรในปีนี้ 

“ทิศทางของผลการดำเนินงานหลังจากนี้ เราเชื่อว่าจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากงบไตรมาส 1/2567 ที่ออกมาล่าสุด เติบโตขึ้นกว่าไตรมาส 4/2566 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะดีขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสถัดๆ ไป ประกอบกับธุรกิจใหม่ๆ ที่บริษัทฯ ได้ลงทุนขยายไป ก็เริ่มดำเนินการได้ ซึ่งก็จะหนุนให้ผลประกอบการของ WICE ในปี 2567 เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วาง 

ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้ผลประกอบการดีต่อเนื่อง จะมาจากจำนวนงานจากลูกค้าเดิมเพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และธุรกิจใหม่ๆ ที่บริษัทฯ ได้ขยายงานไปในช่วงที่ผ่านมา ก็จะเริ่มสร้างรายได้เข้ามาตั้งช่วงกลางปีนี้ ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการผลักดันผลการดำเนินให้กับบริษัทฯ ด้วย” นายชูเดช กล่าว

ทั้งนี้ ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ จะเป็นกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, กลุ่มผู้ผลิตอาหาร และกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นหลัก ซึ่งลูกค้าหลักของบริษัทฯ ยังคงถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์ขาขึ้นทั้งหมด

โดยตลาดหลักๆ ที่บริษัทฯ ให้บริการยังคงเป็นประเทศในเอเชีย และอเมริกา เป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันทั้งตลาดอเมริกา และตลาดเอเชีย อย่างจีนที่เป็นตลาดหลัก เริ่มมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็น่าจะส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมมีการกระเตื้องขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทฯ ยังคงมีการศึกษาลงทุนขยายธุรกิจใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระจายความเสี่ยง และสร้างรายได้จากหลากหลายช่องทาง สร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับบริษัทฯ โดยกลุ่มธุรกิจที่บริษัทฯ มีความสนใจในธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกัน เพื่อจะขยายเครือข่ายให้กว้างขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สามารถขยายไปยังตลาดใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย