ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

“โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา” เผยผลงานไตรมาส 1 ปี 67 มีรายได้รวม 6,389  ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9%

บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ขอเรียนชี้แจงคำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับงวด 3 เดือน (ไตรมาส 1) สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ภาพรวมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยมัลดีฟส์ดูไบและญี่ปุ่น
    1. 1.1.การท่องเที่ยวไทย

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาส 1/2567 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 9.4 ล้านคน เติบโต 44% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ มีจำนวน 1.8 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนหรือ เติบโตประมาณ 2.4 เท่าเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการฟรีวีซ่า ทั้งนี้ ภาพรวมนักท่องเที่ยวหลักมาจากเอเชีย คิดเป็นสัดส่วน 66% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด โดยสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3 อันดับแรกได้แก่ จีน 19%, มาเลเซีย 12% และรัสเซีย 7% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด 

1.2 การท่องเที่ยวมัลดีฟส์

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 1/2567 รวมทั้งสิ้น 604,004 คน เติบโต 15% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของนักท่องเที่ยวจีนโดยมีจำนวน 67,399 คน เติบโตประมาณ 2.8 เท่าเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่นักท่องเที่ยวอินเดีย มีจำนวน 34,847 คน ในไตรมาส 1/2567 ลดลง 38%

เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ในลำดับที่ 6 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด อย่างไรก็ดี ภาพรวมนักท่องเที่ยวจากยุโรปยังคงสัดส่วนมากที่สุดคิดเป็น 66% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด สำหรับนักท่องเที่ยว 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 11%, รัสเซีย-สหราชอาณาจักร-อิตาลี มีสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ 10% และเยอรมัน 8% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด  

1.3 การท่องเที่ยวดูไบ

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 1/2567 รวมทั้งสิ้น 5.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 11% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของนักท่องเที่ยวจากเอเชียเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 68% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นสัดส่วน 9% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ทั้งนี้ นักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก มาจากยุโรปตะวันตก สัดส่วน 22%, เอเชียใต้ 17%, ประเทศรัสเซีย กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS)และยุโรปตะวันออกรวม 16% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ตามลำดับ 

1.4 การท่องเที่ยวญี่ปุ่น

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไตรมาส 1/2567 รวมทั้งสิ้น 8.6 ล้านคน เติบโต 79% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเติบโตของนักท่องเที่ยวเอเชียเป็นสำคัญ โดยเฉพาะชาวจีนมีจำนวน 1.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคนหรือเติบโตประมาณ 8.3 เท่าเทียบปีก่อน ทั้งนี้นักท่องเที่ยว 3 อันดับแรก คิดเป็นสัดส่วนรวม 60% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด  ได้แก่ เกาหลีใต้ 27%, ไต้หวัน 17% และจีน 16% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด

  1. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานรวมและรายธุรกิจของบริษัทฯ

2.1 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานรวม 

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 และไตรมาส 1 ปี 2566

(หน่วย: ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 1/2566เปลี่ยนแปลง
(
เพิ่มขึ้น + / ลดลง -)
 จำนวนเงิน%จำนวนเงิน%จำนวนเงิน%
รายได้จากธุรกิจโรงแรม3,24551%2,83248%41315%
รายได้จากธุรกิจอาหาร3,14449%3,03152%1134%
              รวมรายได้6,389100%5,863100%5269%
ต้นทุนขาย – ธุรกิจโรงแรม1,07517%86815%20724%
ต้นทุนขาย – ธุรกิจอาหาร1,41822%1,37123%473%
              รวมต้นทุนขาย(1)2,49339%2,23938%25411%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร1,98031%1,92633%543%
ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย10%(26)         0%   27104%
กำไรก่อนค่าเสื่อมราคาค่าตัดจำหน่ายดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBITDA)1,91730%1,67229%24515%
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย75512%72112%345%
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT)1,16218%95116%21122%
ต้นทุนทางการเงิน(2)2594%1863%7339%
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้1172%841%3339%
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม(30)0%(52)1%2242%
กำไรสุทธิ75612%62911%12720%
  1. ต้นทุนขายไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายส่วนที่ปันส่วนเป็นต้นทุนขาย
  2. ต้นทุนทางการเงินที่ไม่รวมดอกเบี้ยจ่ายตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า มีจำนวนทั้งสิ้น 124 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 121 ล้านบาท)

ไตรมาส 1/2567: บริษัทฯมีรายได้รวม 6,389  ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 5,863 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 526 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 9%) โดยสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจโรงแรมต่อรายได้จากธุรกิจอาหาร อยู่ที่ 51%:49% (ไตรมาส 1/2566: 48%:52%) ขณะที่กำไรขั้นต้นรวม 3,607 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 59% ของรายได้ (ไม่รวมรายได้อื่น) ทรงตัวเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน บริษัทฯมีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA) รวม 1,917 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,672 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 245 ล้านบาท (หรือ 15%) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอัตรากำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย

และภาษีเงินได้ ต่อรายได้รวม (% EBITDA) 30% ดีขึ้นเทียบกับปีก่อน (ไตรมาส 1/2566: 29%) จากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรม บริษัทฯ มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ (EBIT) 1,162 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 211 ล้านบาท หรือ 22% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ไตรมาส 1/2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127 ล้านบาท หรือ 20% เทียบปีที่ผ่านมา จากการเติบโตของผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหาร

ทั้งนี้ ไตรมาส 1/2567 บริษัทฯมีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินกู้ยืมสกุลเงินต่างประเทศจำนวน 6 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: กำไร 25 ล้านบาท) 

2.2 วิเคราะห์ผลการดำเนินงานรายธุรกิจ 

2.2.1 ธุรกิจโรงแรม 

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯมีโรงแรมภายใต้การบริหารงานทั้งสิ้น จำนวน 95 โรงแรม (21,022 ห้อง) แบ่งเป็นโรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้ว 52 โรงแรม (11,261 ห้อง) และเป็นโรงแรมที่กำลังพัฒนา 43โรงแรม (9,761 ห้อง) ในส่วน 52โรงแรมที่เปิดดำเนินการแล้วนั้น 20 โรงแรม (5,566 ห้อง) เป็นโรงแรมที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ และ 32 โรงแรม (5,695 ห้อง) เป็นโรงแรมที่อยู่ภายใต้สัญญาบริหาร

ผลการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมที่บริษัทฯเป็นเจ้าของสำหรับไตรมาส 1/2567


อัตราการเข้าพัก (Occupancy – OCC) 
ผลการดำเนินงานของโรงแรมทั้งหมด
1/25671/2566%เปลี่ยนแปลง
กรุงเทพฯ78%73%5% pts
ต่างจังหวัด75%78%-3% pts
มัลดีฟส์92%89%3% pts
ดูไบ90%83%7% pts
ญี่ปุ่น67%NA
ประเทศไทยเฉลี่ย 76%76%
รวมเฉลี่ย (ไม่รวมดูไบ)76%77%-1% pts
รวมเฉลี่ยทั้งหมด77%78%-1% pts
71 ราคาห้องพักเฉลี่ย (บาท) (Average Room Rate – ARR)ผลการดำเนินงานของโรงแรมทั้งหมด
1/25671/2566% เปลี่ยนแปลง
กรุงเทพฯ4,0353,8824%
ต่างจังหวัด6,1244,70330%
มัลดีฟส์16,64016,1513%
ดูไบ7,4416,44415%
ญี่ปุ่น7,045NA
ประเทศไทยเฉลี่ย5,4084,46121%
รวมเฉลี่ย (ไม่รวมดูไบ)6,3125,22321%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด6,4645,38020%

รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (บาท) (Revenue per Available Room –  RevPar)
ผลการดำเนินงานของโรงแรมทั้งหมด
1/25671/2566% เปลี่ยนแปลง
กรุงเทพฯ3,1402,84910%
ต่างจังหวัด4,5693,65425%
มัลดีฟส์15,23714,2957%
ดูไบ6,6865,37424%
ญี่ปุ่น4,740NA
ประเทศไทยเฉลี่ย 4,0923,40720%
รวมเฉลี่ย (ไม่รวมดูไบ)4,7724,02519%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด4,9944,18719%

ผลการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมสำหรับไตรมาส 1/2567 

ธุรกิจโรงแรม (ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 1/2566% เปลี่ยนแปลง
รายได้จากกิจการโรงแรม2,9992,51619%
รายได้รวม (รวมรายได้อื่น)3,2452,83215%
กำไรขั้นต้น1,9241,64817%
% อัตรากำไรขั้นต้น64%66%-2% pts
EBITDA1,3671,12222%
% EBITDA42%40%2% pts
กำไรสุทธิ63253817%
% อัตรากำไรสุทธิ19%19%
  • ไตรมาส 1/2567:

ในไตรมาส 1/2567 ภาพรวมรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของธุรกิจโรงแรมยังคงเติบโตได้ดีต่อเนื่องเทียบไตรมาสก่อนและปีก่อน จากการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว โดยเห็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทั้งโรงแรมในประเทศและต่างประเทศ ภาพรวมรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ยของทั้งหมด (RevPar) เพิ่มขึ้น 19% อยู่ที่ 4,994 บาท แม้อัตราการเข้าพักเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยจาก 78% เป็น 77% ในไตรมาส 1/2567 แต่ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่ม 20% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 6,464 บาท 

  • กรุงเทพฯ: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เพิ่ม 10% เป็น 3,140 บาท จากการเพิ่มขึ้นของอัตราการเข้าพัก (OCC) จาก 73% เป็น 78% และราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เพิ่ม 4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 4,035 บาท ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของโรงแรมระดับ 5 ดาวเป็นสำคัญ
  • ต่างจังหวัด: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เพิ่ม 25% เป็น 4,569 บาท เป็นผลจากราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) เติบโต  30% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 6,124 บาท ขณะที่อัตราการเข้าพัก (OCC) ลดลงจาก 78% เป็น 75% การเติบโตของรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เป็นผลจากการฟื้นตัวของโรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวเมืองหลักเป็นสำคัญ ทั้งนี้ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยาและโรงแรมเซ็นทารา กะรน บีช รีสอร์ท ภูเก็ต อยู่ระหว่างการปรับปรุงใหญ่ 
  • ต่างประเทศ:
    • มัลดีฟส์: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) เติบโต 7% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 15,237 บาท อัตราการเข้าพัก (OCC) เพิ่มจาก 89% เป็น 92% และราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (ARR) 3% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 16,640 บาท อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในสกุลดอลลาร์สหรัฐ รายได้ทั้งหมดต่อห้องพักเฉลี่ย (TRevPar) ลดลง 2% เทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็น 621 ดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากรายได้อื่นที่ไม่ใช่ส่วนของค่าห้องพัก ลดลงเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
    • ดูไบ: รายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) 6,686 บาท เติบโต 24% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเพิ่มขึ้นของราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) 15% เป็น 7,441 บาท และอัตราการเข้าพัก (OCC) เพิ่มขึ้นจาก 83% เป็น 90% ไตรมาส 1/2567 
    • ญี่ปุ่น: ไตรมาส 1/2567 อยู่ในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (OCC) 67% ราคาห้องพักเฉลี่ย (ARR) 7,045 บาท และรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPar) 4,740 บาท  
  • ไตรมาส 1/2567 ธุรกิจโรงแรมมีรายได้รวมอยู่ที่ 3,245 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 413 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 15%) จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการดำเนินงานจำนวน 483 ล้านบาทจากการเติบโตของผลประกอบการของโรงแรมเดิมและโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ซึ่งเป็นโรงแรมใหม่ ขณะที่รายได้อื่นลดลง 70 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการลดลงของการรับรู้กำไรจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 19 ล้านบาท ธุรกิจโรงแรมมีกำไรขั้นต้นจำนวน 1,924 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,648 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  แม้อัตรากำไรขั้นต้นลดลงจาก 66% เป็น 64% ในไตรมาส 1/2567 เนื่องจากอัตราการทำกำไรของโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มเปิดดำเนินการและยังเติบโตไม่เต็มที่ กอปรกับเป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยวของประเทศญี่ปุ่น แต่บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ดีขึ้นเทียบปีก่อน ส่งผลให้อัตรากำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และ ภาษีเงินได้ ต่อรายได้รวม (% EBITDA) เพิ่มขึ้นเป็น 42% (ไตรมาส 1/2566: 40%) โดยมีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย ดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้ (EBITDA) จำนวน 1,367 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,122 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 22% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ธุรกิจโรงแรมมีกำไรสุทธิ 632 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 538 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 94 ล้านบาท หรือ 17% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 

2.2.2 ธุรกิจอาหาร 

ผลการดำเนินงานธุรกิจอาหารสำหรับไตรมาส 1/2567

% อัตราการเติบโตสาขาเดิม (SSS)1/25671/2566
4 แบรนด์หลัก1%9%
แบรนด์อื่นๆ – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร-3%7%
เฉลี่ย – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร1%8%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด– ไม่รวมคาเฟ่ อเมซอน – เวียดนาม1%8%
% อัตราการเติบโตจากยอดขายรวม  (TSS)1/25671/2566
4 แบรนด์หลัก5%14%
แบรนด์อื่นๆ – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร-8%23%
เฉลี่ย – ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร3%15%
รวมเฉลี่ยทั้งหมด– ไม่รวมคาเฟ่ อเมซอน – เวียดนาม7%29%
จำนวนสาขารายแบรนด์1/25671/2566
เค เอฟ ซี337322
มิสเตอร์โดนัท461471
อานตี้ แอนส์226213
โอโตยะ4947
เปปเปอร์ลันช์5051
โคลด์สโตน ครีมเมอรี่1616
เดอะ เทอเรส46
ชาบูตง ราเมน1517
โยชิโนยะ2429
เทนยะ1212
คัตสึยะ5961
อร่อยดี1029
เกาลูน11
อาริกาโตะ211195
แกร๊บคิทเช่น บาย เอเวอรีฟู้ด518
คีอานิ1
แบรนด์ร่วมทุน
สลัดแฟคทอรี(1)4131
บราวน์ คาเฟ่610
คาเฟ่ อเมซอน – เวียดนาม(1)2420
ส้มตำนัว85
ชินคันเซ็น ซูชิ(1)5845
รวม1,6181,599
  1. (1)แบรนด์ที่รวมอยู่ในการร่วมค้าในงบการเงิน

ผลการดำเนินงานธุรกิจอาหารสำหรับไตรมาส 1/2567 

ธุรกิจอาหาร (ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 1/2566% เปลี่ยนแปลง
รายได้จากการขาย3,1013,0103%
รายได้รวม (รวมรายได้อื่น)3,1443,0314%
กำไรขั้นต้น1,6831,6393%
% อัตรากำไรขั้นต้น54%54%
EBITDA549550
% EBITDA17%18%-1% pts
กำไรสุทธิ1249136%
% อัตรากำไรสุทธิ4%3%1% pts
  • สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2567 รายได้จากธุรกิจอาหารรวม 3,144 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 113 ล้านบาท (หรือเพิ่มขึ้น 4%)  โดยบริษัทฯ มียอดขายของสาขาเดิม (%SSS) ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร เติบโตเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 1% ขณะที่ภาพรวมอัตราการเติบโตจากยอดขายรวม (%TSS)ไม่รวมแบรนด์ร่วมทุนและแบรนด์ เดอะ เทอเรสที่รับบริหาร  อยู่ที่ 3% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการเติบโตของรายได้มาจากแบรนด์หลักคือ เค เอฟ ซี, อานตี้แอนส์ และโอโตยะ เป็นสำคัญ 
  • ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2567 บริษัทฯ มีจำนวนสาขาทั้งสิ้น 1,618 สาขา (รวมแบรนด์ร่วมทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ) เพิ่มขึ้นสุทธิ 19 สาขา เติบโต 1% เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 1/2566 โดยบริษัทฯ มีการเน้นการขยายสาขากับแบรนด์หลัก ได้แก่  เคเอฟซี (+15)  อานตี้แอนส์ (+13) สลัดแฟคตอรี (+10) ชินคันเซ็น ซูชิ (+13)  สำหรับ อาริกาโตะ (+16)  เป็นการเพิ่มจำนวนสาขาที่อยู่กับร้าน มิสเตอร์โดนัท  (shop-in-shop) เป็นหลัก ขณะที่อร่อยดี และ แกร็บคิดเช่น บาย เอเวอรี่ฟูด ซึ่งมีรายได้หลักจากเดลิเวอรี่  ได้มีการปรับลดสาขาลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบปีก่อน ซึ่งเป็นการปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร เพื่อปรับปรุงอัตราการทำกำไรของธุรกิจให้ดีขึ้น 
  • ในไตรมาส 1/2567 ธุรกิจอาหาร มีกำไรขั้นต้นจำนวน 1,683 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 1,639 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 54% ของรายได้จากธุรกิจอาหาร (ไม่รวมรายได้อื่น) ทรงตัวเทียบกับปีก่อน บริษัทฯมีกำไรก่อนค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย  ดอกเบี้ยจ่าย  และภาษีเงินได้ (EBITDA) อยู่ที่ 549 ล้านบาท (ไตรมาส 1/2566: 550 ล้านบาท) และอัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม (% EBITDA) อยู่ที่ 17% ลดลงเล็กน้อยเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาส 1/2566: 18%)  อย่างไรก็ดี ธุรกิจอาหารมีกำไรสุทธิ 124 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 33 ล้านบาท หรือ 36% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอัตรากำไรสุทธิปรับตัวดีขึ้นจาก 3% เป็น 4% โดยในภาพรวมสำหรับไตรมาส 1/2567  นี้ แม้ว่าธุรกิจอาหารมีค่าใช้จ่ายด้านค่าเช่าที่เพิ่มขึ้น แต่มีแนวโน้มต้นทุนวัตถุดิบที่ดีขึ้น และ ค่าใช้จ่ายทางค่าเสื่อมราคาลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2566
  1. สถานะทางการเงิน

ฐานะการเงินและกระแสเงินสด 

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวม 54,465 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 262 ล้านบาท เทียบสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์จำนวน 956 ล้านบาท และเงินลงทุนในการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 169 ล้านบาท ขณะที่เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง 495 ล้านบาท และลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นลดลง 203 ล้านบาท     

หนี้สินรวม มีจำนวน 33,292 ล้านบาท ลดลง 894 ล้านบาท หรือ 3% จากสิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นสถาบันการเงินลดลง 300 ล้านบาท, เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นลดลง 499 ล้านบาท  และเงินกู้ยืมระยะยาวสถาบันการเงินลดลง 415 ล้านบาท ขณะที่หนี้สินตามสัญญาเช่าเพิ่มขึ้น 267 ล้านบาท  

บริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมจำนวน 21,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 จำนวน 1,156 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากกำไรสุทธิของบริษัทฯจากผลประกอบการไตรมาส 1/2567 จำนวน 756 ล้านบาท 

สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ มีกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,663 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 353 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนจำนวน 1,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 700 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ จำนวน 1,246 ล้านบาท

ในขณะที่มีเงินสดรับจากสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนอื่น 200 ล้านบาท และมีดอกเบี้ยรับจำนวน 93 ล้านบาท บริษัทฯมีกระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินจำนวน 1,280 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 190 ล้านบาท เทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการชำระคืนเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำนวน 621 ล้านบาท,

ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 608 ล้านบาท, ชำระคืนเงินต้นของหนี้สินตามสัญญาเช่าจำนวน 312 ล้านบาท, และจ่ายดอกเบี้ย 138 ล้านบาท สุทธิด้วยเงินสดรับจากเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจำนวน 300 ล้านบาท และเงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 186 ล้านบาท 

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนทางการเงินไตรมาส 1/2567ปี 2566
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า)0.50.5
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า)1.31.4
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (ไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า) ต่อส่วนผู้ถือหุ้น (เท่า)0.60.7

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 บริษัทฯ มีอัตราส่วนสภาพคล่องทรงตัวที่ 0.5 เท่า เทียบสิ้นปี 2566 ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนผู้ถือหุ้นลดลงเป็น 1.3 เท่า จากการเพิ่มขึ้นของส่วนผู้ถือหุ้นและการลดลงของหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย เช่นเดียวกับอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (ไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า) ต่อส่วนผู้ถือหุ้น ลดลงเทียบสิ้นปีที่ผ่านมาเป็น 0.6 เท่า ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเงื่อนไขกับสถาบันการเงินเกี่ยวกับการรักษาอัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (ไม่รวมหนี้สินตามสัญญาเช่า) ต่อส่วนผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 2.0 เท่า

  1. ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงาน
  •   ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานปี 2567

ธุรกิจโรงแรม: แม้ภาพรวมจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตได้ดีในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสที่ 1 โดยปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนอย่างมีนัยสำคัญ ประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความผันผวนของสภาวะอากาศที่รุนแรงและภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาจส่งผลต่อภาพรวมการท่องเที่ยว และต้นทุนการดำเนินงาน

ดังนั้น บริษัทฯยังคงให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานด้วยความระมัดระวังโดยการปรับกลยุทธ์ทางการขายและตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง การติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว เน้นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ การมีวินัยทางการเงิน

ขณะที่บริษัทฯยังคงการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตในอนาคต ด้วยการจัดสรรเงินทุนอย่างระมัดระวัง  บริษัทฯ ได้จัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนที่เหมาะสมจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน และการออกตราสารหนี้ในตลาดตราสารหนี้ รวมถึงการจ่ายคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนดจากกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานเพื่อลดภาระดอกเบี้ย

  • ในปี 2567 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ระดับ 5 ดาวจำนวน 515 ห้อง จะเปิดดำเนินการเต็มปีเป็นปีแรก บริษัทฯ มีวิธีบันทึกการรับรู้ผลการดำเนินงานดังนี้
    • บริษัท Centara Osaka Japan Kabushiki Kaisha ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้น 100% และเป็นผู้เช่าทรัพย์สินเพื่อดำเนินกิจการโรงแรม บริษัทฯบันทึกผลการดำเนินงานของโรงแรมซึ่งดำเนินการโดยบริษัทย่อยทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งจำนวนในงบการเงินรวม
    • บริษัท Centara Osaka Tokutei Mokutei Kaisha ปัจจุบัน บริษัทฯ ถือหุ้น 53% เป็นบริษัทร่วมทุนและเป็นผู้ถือทรัพย์สิน บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานและมูลค่าเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินรวม 
  • การปรับปรุงใหญ่ (Major Renovation) ทั้งส่วนห้องพักและพื้นที่สาธารณะ (Public Area) สำหรับโรงแรมในประเทศไทย 2 โรงแรมดังนี้:
    • โรงแรมเซ็นทารา กะรน ภูเก็ต จำนวน 335 ห้อง โดยเริ่มปิดโรงแรมทั้งหมดเพื่อปรับปรุงในช่วงไตรมาส3/2566 กำหนดจะทยอยเปิดดำเนินการในช่วงไตรมาส 4/2567 – ไตรมาส 2/2568 
    • โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีช รีสอร์ท พัทยา จำนวน 553 ห้อง ทยอยปิดปรับปรุง โดยเริ่มในช่วงไตรมาส 3/2566 กำหนดจะทยอยเปิดดำเนินการในแต่ละเฟสในช่วงไตรมาส 2/2567 – ไตรมาส 1/2568 
  • กำหนดเปิดโรงแรมเซ็นทารา มิราจ ลากูน มัลดีฟส์ จำนวน 145 ห้อง ในไตรมาส 4/2567 และ โรงแรมเซ็นทารา   แกรนด์ ลากูน มัลดีฟส์ จำนวน 142 ห้อง ในไตรมาส 1/2568 ซึ่งคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายในช่วงเตรียมเปิดดำเนินการ (pre-opening expenses) รวมทั้ง 2 โรงแรมประมาณ 200 – 250 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะทยอยรับรู้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567

ธุรกิจอาหาร: ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหม่ๆ สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่าย  และ การบริหารจัดการต้นทุนให้มีประสิทธิภาพก็มีความสำคัญค่อนข้างมาก  บริษัทฯตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว และ ได้สร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยการหาแบรนด์ใหม่ๆเข้ามาเสริมทัพ

รวมถึงการหาช่องทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ในส่วนของการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบ บริษัทฯได้มีการวางแผนในการเจรจาต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง รวมถึงหาแหล่งวัตถุดิบทดแทน และมีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับวัตถุดิบหลักในบางส่วนเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา

นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีการบริหารจัดการลดผลกระทบในกรณีที่ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้นผ่านการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือจัดโปรโมชั่นหรือกิจกรรมส่งเสริมการขายให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ในส่วนของการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้ บริษัทฯได้มีการเตรียมการเพื่อบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น จัดตารางการทำงานพนักงานให้เป็นมาตรฐานตามยอดขาย 

อีกทั้ง บริษัทฯ มีแผนการปิดสาขาที่ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมายเพื่อรักษาอัตราทำกำไรของบริษัทฯ และพิจารณาเปิดสาขาใหม่ด้วยความระมัดระวังมากขึ้นโดยมุ่งเน้นการขยายสาขาในแบรนด์หลักที่มีอัตราการทำกำไรสูง รวมถึงการปรับลดขนาดหรือปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สะท้อนกับยอดขายหรือกลุ่มลูกค้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน

แผนการเติบโตธุรกิจแบบยั่งยืน

บริษัทฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในการลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยตั้งเป้าเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปีพ.ศ. 2593 ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะแรกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปีพ.ศ. 2572 (เทียบกับปีฐาน ปีพ.ศ. 2562)

ด้วยการบริหารจัดการการใช้พลังงาน การใช้น้ำ และการจัดการของเสีย อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยกเลิกใช้พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) ภายในปีพ.ศ. 2568 พร้อมทั้งให้โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราทุกแห่งได้รับการรับรองด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจาก Global Sustainable Tourism Council – GSTC ภายในปีพ.ศ. 2568 

นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจอาหารให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในระยะยาวด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเน้นพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ยั่งยืน รวมถึงบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดคุณค่าร่วมและส่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานขององค์กรพร้อมเสริมสร้างความแข็งแกร่งและมั่นคงให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน 

  • แนวโน้มธุรกิจปี 2567
    • ธุรกิจโรงแรม: ภาพรวมปี 2567 คาดการณ์อัตราการเข้าพักเฉลี่ย (รวมโรงแรมร่วมทุน) 70% – 73% และรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (RevPAR) อยู่ที่ 4,000 – 4,300 บาท โดยปัจจัยส่งเสริมการเติบโตที่สำคัญ:
      • การเติบโตอย่างต่อเนื่องโรงแรมระดับ 5 ดาวขึ้นไป ในประเทศไทย 
      • การเติบโตอย่างต่อเนื่องของโรงแรมเซ็นทารา มิราจ บีช รีสอร์ท ดูไบ
      • ผลการดำเนินงานของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ โอซาก้า จากการเปิดดำเนินการเต็มปีเป็นปีแรกในปี 2567 
  • ธุรกิจอาหาร: ในปี 2567 บริษัทฯ ประมาณการอัตราการเติบโตจากสาขาเดิม (Same-Store-Sales: SSS) (ไม่รวมกิจการร่วมค้า) 3% – 5% เทียบปีก่อน และอัตราการเติบโตของยอดขายรวมทุกสาขา (Total-System-Sales: TSS) จะอยู่ในช่วง 8% – 11% เทียบปีที่ผ่านมา คาดว่าครึ่งปีหลังจะมีอัตราการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นการเติบโตจากฐานต่ำเทียบปีก่อนโดยการเติบโตของรายได้ยังคงมาจาก 4 แบรนด์หลักและแบรนด์ร่วมทุนเป็นสำคัญ สำหรับการเติบโตของจำนวนสาขา  บริษัทฯ คาดว่าจะมีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นสุทธิ (รวมกิจการร่วมค้า) ประมาณ 80-95 สาขา (รวมสาขา shop-in-shop อาริกาโตะในมิสเตอร์โดนัท) หรือเติบโต 5% – 6% เทียบปีก่อน 

นายกันย์ ศรีสมพงษ์) ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และ รองประธานฝ่ายการเงินและบริหาร

ภาคผนวก

ผลกระทบทางการบัญชีจากการบันทึกสัญญาเช่าระยะยาวโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ทและวิลล่า หัวหิน และ สัญญาเช่าโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซาก้า ซึ่งมีผลต่อค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยจ่าย

ผลกระทบจากสัญญาเช่าระยะยาว  (หน่วย: ล้านบาท)ไตรมาส 1/2567ไตรมาส 2/2567ไตรมาส 3/2567ไตรมาส 4/2567
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์บีชรีสอร์ทและวิลล่าหัวหิน
ค่าเสื่อมราคา(15)(15)(15)(15)
ดอกเบี้ยจ่าย(25)(24)(23)(23)
โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์โอซาก้า
ค่าเสื่อมราคา(28)(28)(28)(28)
ดอกเบี้ยจ่าย(42)(42)(42)(42)
ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

เวียตเจ็ทเริ่มให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ฮานอย – ฮิโรชิมะ

สายการบินเวียตเจ็ท (เวียดนาม) เริ่มให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์บนเส้นทางบินตรงระหว่างฮานอย เมืองหลวงของเวียดนาม และฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นเส้นทางบินระหว่างเวียดนามและญี่ปุ่นเส้นทางที่ 8 ของเวียตเจ็ท รวมถึงเป็นสายการบินแรกในเวียดนามที่ให้บริการเส้นทางบินตรงระหว่างฮิโรชิมะและฮานอย

Vu Chi Mai กงสุลใหญ่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ณ เมืองฟูกูโอกะ Yuzaki Hidehiko ผู้ว่าราชการจังหวัดฮิโรชิมะ ผู้แทนกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวในฮิโรชิมะ ผู้บริหารจากท่าอากาศยานนานาชาติฮิโรชิมะและเวียตเจ็ท พร้อมด้วยประชาชน นักท่องเที่ยว และสื่อมวลชนร่วมพิธีเริ่มให้บริการเที่ยวบินปฐมฤกษ์ของเวียตเจ็ท พร้อมกันนี้ ผู้โดยสารที่เดินทางบนเที่ยวบินดังกล่าวได้รับของที่ระลึกจากสายการบินฯ และสนามบินฮิโรชิมะ

นาย Yasuhiro Nakamura ประธานและกรรมการผู้แทนท่าอากาศยานนานาชาติฮิโรชิมะ แสดงความยินดีกับเวียตเจ็ท กล่าวว่า “เที่ยวบินปฐมฤกษ์เส้นทาง ฮานอย – ฮิโรชิมะ ของเวียตเจ็ทถือเป็นบริการเส้นทางบินระหว่างประเทศเส้นทางใหม่สู่สนามบินฮิโรชิมะเป็นครั้งแรกภายหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19

เราขอแสดงความยินดีและขอบคุณเวียตเจ็ทในการเริ่มให้บริการเที่ยวบินดังกล่าวเนื่องจากเป็นก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายบริการเส้นทางบินระหว่างประเทศของสนามบินฮิโรชิมะขณะที่ความต้องการการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามุ่งมั่นร่วมมือกับสายการบินฯ เพื่อเพิ่มความถี่ในการให้บริการและตั้งตารอการขยายเครือข่ายเที่ยวบินของเวียตเจ็ทสู่ฮิโรชิมะ”

นาย Nguyen Duc Thinh รองประธานสายการบินเวียตเจ็ท แสดงความขอบคุณการสนับสนุนจากทางการญี่ปุ่นและพันธมิตรในท้องถิ่น กล่าวว่า “ขณะนี้ เวียตเจ็ทให้บริการเที่ยวบิน 116 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ระหว่างเมืองใหญ่ของเวียดนามสู่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในญี่ปุ่น อาทิ โตเกียว โอซาก้า ฟูกุโอกะ นาโกย่า และฮิโรชิมะ สายการบินฯ มุ่งมั่นขยายเครือข่ายเส้นทางบินเชื่อมต่อระหว่างเวียดนามและญี่ปุ่นเพื่อมอบตัวเลือกการเดินทางที่สะดวก คุ้มค่า และประหยัดเวลาแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศและทั่วภูมิภาค”

ในช่วงเริ่มต้น เส้นทางบินระหว่างประเทศ ฮานอย – ฮิโรชิมะ จะให้บริการด้วยความถี่ 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ทุกวันพฤหัสบดี และอาทิตย์ ใช้เวลาปฏิบัติการบิน 4 ชั่วโมง 30 นาที โดยประมาณ ดังตารางเที่ยวบินต่อไปนี้

เพื่อฉลองเที่ยวบินปฐมฤกษ์ ฮานอย – ฮิโรชิมะ สายการบินฯ เสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษเริ่มต้นเพียง 0 บาท (ราคาไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียม) สำหรับทุกเส้นทางบินระหว่างประเทศ ผู้โดยสารสามารถสำรองบัตรโดยสารราคาโปรโมชั่นได้ทุกวันศุกร์ เดินทางได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ที่ www.vietjetair.com

ฮานอยเป็นที่รู้จักในฐานะศูนย์กลางทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของเวียดนาม พร้อมด้วยมรดกทางอาหารอันน่าทึ่ง นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจากฮานอยสู่จุดหมายปลายทางอื่น ๆ ในเวียดนามและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกัน ฮิโรชิมะตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น เป็นแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโกสองแห่ง ได้แก่ สวนอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ และศาลเจ้าอิทสึคุชิมะ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย

ผู้โดยสารที่เดินทางกับเวียตเจ็ทสามารถเพลิดเพลินกับอาหารเวียดนามที่มีเอกลักษณ์บนเที่ยวบิน อาทิ เฝอ บั๋นหมี กาแฟ และอีกมากมาย รวมถึงอาหารนานาชาติที่เสิร์ฟโดยลูกเรือที่ให้บริการด้วยความเป็นมืออาชีพบนเครื่องบินที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประกันภัย Sky Care โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อความอุ่นใจตลอดการเดินทาง

การเงิน-หุ้น, ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

ททท. จับมือ Robinhood ส่งแคมเปญ “สุขทันทีที่เที่ยววันธรรมดากับโรบินฮู้ด” รับส่วนลดพิเศษทุกวันเพียงจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมกับ Robinhood Travel

Robinhood แอปเพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชวนคนไทยสัมผัสบรรยากาศเมืองไทยช่วง Green season ภายใต้แคมเปญ “สุขทันทีที่เที่ยววันธรรมดากับโรบินฮู้ด” โดยมอบส่วนลดพิเศษสำหรับการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน

ผ่าน Robinhood Travel สูงสุด 25% และส่วนลดพิเศษทุกเดือน สูงถึง 1,400 บาท เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยทั้งเมืองหลักและเมืองรอง  โดยเน้นการเดินทางในวันธรรมดา

นายกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ร่วมกับ นางสาวสมฤดี จิตรจง รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชวนนักท่องเที่ยวไทยออกเดินทางมาสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวไทยในช่วงฤดูฝน

ทั้งเมืองหลักและเมืองรองในวันธรรมดา ตอบสนองเทรนด์การทำงานในรูปแบบใหม่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เป็นการทำงานแบบไฮบริด ภายใต้แคมเปญ “สุขทันทีที่เที่ยววันธรรมดากับโรบินฮู้ด” ชวนลูกค้าบนแพลตฟอร์ม Robinhood กว่า4.5 ล้านคน จัดทริปเที่ยวแบบสุดคุ้ม พร้อมซึมซับบรรยากาศแสนสดชื่น สัมผัสความชุ่มฉ่ำ

เติมพลังให้ชีวิตพร้อมกลับมาเริ่มต้นช่วงเวลาดีๆ ที่มีได้ทุกวัน โดยมอบส่วนลดพิเศษสำหรับการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมชั้นนำที่เข้าร่วมโครงการกับ “Robinhood Travel” สูงสุด 25% และส่วนลดพิเศษทุกเดือน สูงถึง 1,400 บาท ตลอดระยะเวลาแคมเปญ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 – 31 สิงหาคม 2567

รายละเอียดส่วนลดสำหรับลูกค้าเมื่อจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมกับ Robinhood Travel

  • ส่วนลดทุกวันตลอดระยะเวลาแคมเปญ
  • จองตั๋วเครื่องบินลด 250 บาท
  • จองโรงแรมและที่พัก ลด 25% พร้อม ฟรี! อัปเกรดห้องพักและฟรี! เครดิตโรงแรม
  • ส่วนลดพิเศษเดือนละ 1 ครั้ง ตลอดระยะเวลาแคมเปญ (Flash sale)
  • ลดสูงสุด 1,400 บาท (ส่วนลดโรงแรม 1,000 บาท และส่วนลดตั๋วเครื่องบิน 50% สูงสุด 400 บาท)

ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดแคมเปญเพิ่มเติมและทำการจองตั๋วเครื่องบินและโรงแรม ได้ที่แอปพลิเคชัน Robinhood

ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

ผู้บริหารระดับสูง โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา เข้าเยี่ยมชมศูนย์ TIL คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมร่วมมือพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ให้การต้อนรับผู้บริหารระดับสูงจาก โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา พร้อมนำเสนอการดำเนินงานศูนย์ EEC-NET: Tourism Innovation Lab (TIL) พร้อมหารือประเด็นความร่วมมือการพัฒนากำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

ไมเคิล เฮนสเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา, เบญจ มอนโกเมอรี่ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารธุรกิจสัมพัทธ์ โรงแรมฯ และนายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคสาขาประเทศไทย, 

ชัยพันธุ์ ทองสุธรรม ผู้จัดการใหญ่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์มิราจพัทยาและทีมผู้บริหารโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา เข้าเยี่ยมชมศูนย์ EEC-NET: Tourism Innovation Lab (TIL) และรับฟังการเนินงานของศูนย์ TIL จาก  รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี พิมาพันธุ์ศรี คณบดี และคณาจารย์สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะบริหารธุรกิจ

ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนศูนย์ TIL ได้หารือประเด็นการพัฒนาความร่วมมือกับ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ซึ่งเป็นโรงแรมชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินการในประเทศไทยมานานกว่า 40 ปี ในการสนับสนุนความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนในอุตสาหกรรม

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) สร้างศูนย์เครือข่ายพัฒนากำลังคนด้านการท่องเที่ยว (EEC-NET: TIL) ในปี 2564 ประกอบด้วย 6 หน่วยปฏิบัติการหลัก (Hotel Lab, Restaurant & Culinary Lab, Co-Experience & Event Lab, Spa & Wellness Lab,

Travel Consulting Lab, Airline Service Lab) รวม 19 พื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการยกระดับทักษะบุคลากร (Reskill, Upskill,  New skill) ทางการท่องเที่ยวและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม (Demand Driven) และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของพื้นที่

สำหรับโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา โดย โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ มิราจ บีชรีสอร์ท พัทยาได้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาประสบการณ์และอาชีพ ด้านท่องเที่ยวและบริการกับมหาวิทยาลัยบูรพา โดยผ่านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน

(Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) มาอย่างต่อเนื่อง และพร้อมยกระดับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสนับสนุนการสร้างและพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการในอนาคต

ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด ขยายฐานตัวแทนจำหน่ายและสมาชิก บุกตลาดตะวันออกกลาง ดึงต่างชาติพำนักไทยระยะยาว

บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด ผู้ให้บริการเอกสิทธิ์ทางด้านวีซ่าพำนักระยะยาวพร้อมสิทธิประโยชน์เหนือระดับ ภายใต้การกำกับดูแลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้รับเกียรติจาก นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. และ นางสาวนิภา นิรันดร์นุต กงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ ร่วมเป็นประธานในการตัดริบบิ้นเปิดคูหาประเทศไทยอย่างเป็นทางการและเข้าร่วมเยี่ยมชมบูธ ไทยแลนด์ พริวิเลจ 

ที่แสดงภายในงาน อาราเบียน ทราเวล มาร์ต หรือ  Arabian Travel Market (ATM) 2024 งานส่งเสริมการขายด้านการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เดินหน้าเจาะตลาดจีซีซี (GCC : Gulf Cooperation Council) ขยายฐานตัวแทนจำหน่ายและสมาชิก

สำหรับผู้ที่ต้องการพำนักในไทยระยะยาวพร้อมสิทธิประโยชน์ตอบโจทย์ทุกไลฟสไตล์ ผ่านการนำเสนอบัตรสมาชิกพิเศษ ไทยแลนด์ พริวิเลจ 4 ประเภท ได้แก่ GOLDPLATINUMDIAMOND และ RESERVE อายุการเป็นสมาชิก 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี+ ตามลำดับ ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ศูนย์จัดแสดง Dubai World Trade Centre เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 

นายมนาเทศ อันนวัฒน์ เพรสซิเดนท์ บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด กล่าวว่า งาน อาราเบียน ทราเวล มาร์ต 2024 ถือเป็นงานด้านธุรกิจท่องเที่ยวที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง โดยรวบรวมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชั้นนำจากทั่วโลกไว้ด้วยกันไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพการเติบโตของประเทศในกลุ่ม GCC ที่มีกำลังซื้อสูง เป็นไปตามกลยุทธ์ขยายตลาดใหม่ (Emerging Country) 

การเข้าร่วมงานครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการรับสมัครตัวแทนจำหน่ายและสมาชิก เผยแพร่ประชาสัมพันธ์บัตรสมาชิกพิเศษสำหรับชาวต่างชาติที่ต้องการย้ายมาพำนักระยะยาวในประเทศไทย เพิ่มโอกาสการเติบของธุรกิจและต่อยอดขยายฐานสมาชิก รวมทั้งได้พบปะกับหน่วยงานหรือกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการเป็นผู้แทนจำหน่าย เพื่อขยายตลาดในภูมิภาค และนำชาวต่างชาติคุณภาพพำนักระยะยาวในไทย กระจายรายได้สู่ประเทศ

นอกจากนี้ ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด ยังได้รับเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างผู้ประกอบการไทยและนักธุรกิจชั้นนำจากซาอุดิอาระเบีย ภายในงาน “มวยไทย กาล่า 2024” โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย นับเป็นโอกาสอันดีระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยเพื่อร่วมเผยแพร่และส่งเสริมศิลปะประจำชาติของไทยไปสู่สากล

โดยการร่วมงานครั้งนี้เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการบัตรสมาชิกแก่ผู้ที่ชื่นชอบศิลปวัฒธรรมไทย ผู้บริหารหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวและกีฬา ณ ซาอุดิอาระเบีย ได้รู้จักไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ดมากยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นการจับคู่ธุรกิจ (Business matching) กับผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

“จากข้อมูลสถิติของ ททท. พบว่าในปีที่ผ่านมา ชาวต่างชาติกลุ่มตะวันออกกลางมีการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อทริปขณะท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงที่สุด ซึ่งสอดรับกับแนวนโยบายของบริษัทฯ ในการขยายฐานสมาชิกไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้และนำเม็ดเงินเข้าประเทศ รวมถึงเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ ในการเป็นเอกสิทธิ์ทางด้านวีซ่าพำนักระยะยาวระดับโลก” นายมนาเทศ กล่าว

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดของ Thailand Privilege Cardได้ทางเว็บไซต์ทางการ www.thailandprivilege.co.th สำหรับพันธมิตรที่สนใจเข้าร่วมเป็นคู่ค้ากับบริษัทฯ สามารถติดต่อได้ที่แผนกประสานเครือข่ายพันธมิตร โทร 02-353-4145, Email : vendor_relations@thailandprivilege.co.th และสำหรับผู้ที่สนใจเป็นตัวแทนจำหน่ายเพื่อร่วมเติบโตขยายธุรกิจไปยังทั่วโลก สามารถติดต่อได้ที่ แผนกบริหารตัวแทนจำหน่าย โทร 02-353-4120 , Email : salesgroup@thailandprivilege.co.th

ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

จองด่วน! ไทยเวียตเจ็ทจัดโปรฯ สุดคุ้ม ตั๋วเริ่มต้น 0 บาท

สายการบินไทยเวียตเจ็ทลดกระหน่ำ ออกโปรโมชั่น “เที่ยวหน้าร้อนกับโปรฯ น่ารัก (It’s Time to Vietjet)” เสนอบัตรโดยสารราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 0 บาท (ราคาไม่รวมภาษีและค่าธรรมเนียม)  สำหรับเดินทางบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศ

และระหว่างประเทศของไทยเวียตเจ็ท สามารถสำรองบัตรโดยสารได้ระหว่างวันที่ 14 – 17 พฤษภาคม 2567 ใช้เดินทางได้ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2567 – 28 กุมภาพันธ์ 2568 (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ที่ www.vietjetair.com

บัตรโดยสารราคาโปรโมชั่นนี้สามารถใช้เดินทางได้กับทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินภายในประเทศของไทยเวียตเจ็ท ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ หาดใหญ่ สุราษฎร์ธานี อุดรธานี ขอนแก่น และอุบลราชธานี

รวมถึงเส้นทางบินข้ามภูมิภาคจาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย และทุกเส้นทางบินบนเครือข่ายเส้นทางบินระหว่างประเทศของไทยเวียตเจ็ท ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เวียดนาม พนมเปญ สิงคโปร์ ฟูกุโอกะ ไทเป เซี่ยงไฮ้ และหางโจว รวมถึงเส้นทางบินตรงจาก เชียงใหม่ สู่ โอซาก้า

ผู้โดยสารสามารถสำรองบัตรโดยสารราคาพิเศษนี้ได้ที่เว็บไซต์ www.vietjetair.com แอปพลิเคชัน “Vietjet Air” หรือผ่านช่องทางเฟซบุ๊กที่ www.facebook.com/VietJetThailand (คลิกที่แถบ “จองเลย”) รวมทั้งตัวแทนจำหน่ายหรือสำนักงานจำหน่ายบัตรโดยสาร พร้อมกันนี้ผู้โดยสารสามารถชำระเงินด้วย “ทรูมันนี่ วอลเล็ท” และบัตรเดบิต หรือบัตรเครดิต

สายการบินไทยเวียตเจ็ทให้บริการครอบคลุม 11 เส้นทางบินภายในประเทศ ได้แก่ เส้นทางบินจาก กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สู่ เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต กระบี่ อุดรธานี หาดใหญ่ ขอนแก่น อุบลราชธานี และสุราษฎร์ธานี รวมถึงเที่ยวบินข้ามภูมิภาค

จาก ภูเก็ต สู่ เชียงใหม่ และเชียงราย พร้อมกันนี้ สายการบินฯ ได้ขยายเส้นทางบินระหว่างประเทศสู่หลากหลายจุดหมายปลายทางในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เชื่อมต่อประเทศไทยกับเวียดนาม จีน สิงคโปร์ กัมพูชา ญี่ปุ่น ไทเป และอีกหลายจุดหมายปลายทางทั่วทั้งภูมิภาค

ท่องเที่ยว, อสังหาริมทรัพย์

Fortune Town เปิดพื้นที่จัดกิจกรรมแห่งใหม่ Fortune Event Space ชวนทาสแมวได้ใจฟู กับงาน “See Cat @ Fortune Town”  

ฟอร์จูนทาวน์ (Fortune Town) ศูนย์รวมไอทีและไลฟ์สไตล์ชั้นนำย่าน รัชดา-พระราม 9   ชวนเหล่าทาสแมว มาใกล้ชิด กับเหล่าน้องแมวสุดน่ารัก

พร้อมกิจกรรมอีกมากมายในงาน  “See Cat @ Fortune Town”ระหว่างวันที่ 17 – 23 พฤษภาคม 2567   บริเวณ  Fortune Event Space  ชั้น 4  ฟอร์จูนทาวน์   รัชดา-พระราม 9

คุณชัยวัฒน์  เอมวงศ์  ผู้อำนวยการอาวุโส  บริษัท ซี.พี. แลนด์ จำกัด (มหาชน) หรือ CP LAND ในฐานะผู้บริหารฟอร์จูนทาวน์(Fortune Town)  เปิดเผยว่า ฟอร์จูนทาวน์ได้เนรมิตและจัดพื้นที่ บริเวณ ชั้น 4 ให้เป็นพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมแห่งใหม่ของฟอร์จูนทาวน์   

เพื่อสร้างให้เกิด Community  สำหรับพบปะ สร้างสรรค์ หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ของกลุ่มคนที่ชื่นชอบ สนใจในเรื่องเดียวกัน  สำหรับงาน See Cat @ Fortune Town   ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17 – 23 พฤษภาคม  2567   

ถือเป็นกิจกรรมเปิดพื้นที่กิจกรรม Fortune Event Space อย่างเป็นทางการครั้งแรกจึงอยากเรียนเชิญทุกท่านมาร่วมสัมผัสFortune Event Spaceด้วยตัวเองสักครั้ง

โดยภายในงานทุกท่านจะได้ พบกับคาเฟ่แมว ที่รวมเจ้าเหมียวสุดน่ารัก มาให้เหล่าทาสได้ถ่ายภาพ ใกล้ชิด กว่า 20 ชีวิต พร้อมชมนิทรรศการภาพแมว ที่เกิดจากเทคโนโลยี AI   พิเศษ กับ Work shop ให้เหล่าทาสได้มาทำของที่ระลึกสำหรับน้องแมว DIYสุดน่ารัก เลือกช้อปอาหาร ของเล่น เสื้อผ้า สำหรับน้องแมว จากแบรนด์ชั้นนำ   

ฟินกับ Studio ที่ตกแต่งด้วยน้องแมวสุดคิ้ว  ให้เหล่าทาส ได้ถ่ายภาพ ฟรี รวมถึง บริการฉีดวัคซีนรวม สำหรับน้องแมวที่มีอายุ  1 เดือนขึ้นไป และทำหมันน้องแมว ที่มีอายุ 1 ปี  ขึ้นไป ฟรี จากสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข พร้อมเปิดโอกาสให้คนที่รักแมว ได้อุปการะน้องแมวไร้บ้าน จากชมรมรักสัตว์โอซีดี  (OCD) 

ทาสแมวต้องมา  “See Cat @ Fortune Town”   ระหว่างวันที่ 17 – 23 พฤษภาคม 2567 บริเวณ  Fortune Event Space  ชั้น 4  ฟอร์จูนทาวน์  รัชดา-พระราม 9 เดินทางสะดวกด้วยรถไฟฟ้า MRT  สถานีพระราม 9  ทางออกประตู 1

ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

เซ็นทาราผนึกกำลังเคทีซี ส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนในภูเก็ต

เซ็นทาราผนึกกำลังเคทีซี ส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนในภูเก็ต ยกเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท ภูเก็ต เป็นหนึ่งในโมเดลโรงแรมแฟล็กชิปแห่งความยั่งยืน  พร้อมสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในภูเก็ต

โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ผนึกกำลังกับ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการบัตรเครดิตยอดนิยม จัดทริปพาสื่อมวลชนเยี่ยมชมโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของ “โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท ภูเก็ต” หนึ่งในโรงแรมแฟล็กชิปด้านความยั่งยืนของเซ็นทารา เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูเก็ต 

ความร่วมมือระหว่างโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา กับ “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับกลุ่มลูกค้าของแต่ละบริษัท โดยใช้โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท ภูเก็ต เป็นหนึ่งในต้นแบบของโรงแรมด้านความยั่งยืน ในฐานะโรงแรมที่ดำเนินงานและให้บริการลูกค้าโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ 

เซ็นทารามุ่งนำหลักการด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจ เพื่อส่งมอบสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต โดยโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราเป็นกลุ่มเครือโรงแรมแห่งแรกในเอเชียที่ได้รับการรับรอง “มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”

(GSTC-Recognised Standard) จากสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council – GSTC) อันเป็นผลมาจากการผลักดันยุทธศาสตร์และการพัฒนาด้านความยั่งยืนในผลิตภัณฑ์และการบริการของทุกโรงแรมและรีสอร์ทที่เซ็นทาราดำเนินธุรกิจอยู่

ภายใต้โปรแกรม “เซ็นทารา เอิร์ธแคร์” (Centara EarthCare) ที่มุ่งสนับสนุนให้พนักงาน แขกของโรงแรม และนักท่องเที่ยวมีความตระหนักและร่วมมือในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ เซ็นทารามีโรงแรมในเครือทั้งหมด 24 แห่ง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GSTC ซึ่งเซ็นทาราตั้งเป้าให้โรงแรมและรีสอร์ทในเครือได้รับการรับรองประกาศนียบัตรด้านความยั่งยืนครบทุกแห่งภายในปี 2568 นอกจากนั้น เซ็นทารายังมีเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี พ.ศ. 2593 

ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะแรกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปี พ.ศ. 2572 เทียบจากฐานปี พ.ศ. 2562 โดยได้มุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอย่างจริงจัง ผ่านแผนการดำเนินงานต่างๆ  อีกทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์

เซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท ภูเก็ต ตั้งอยู่บนหาดกะรนอันเงียบสงบ โอบล้อมด้วยเนินเขาสีเขียวและธรรมชาติอันสมบูรณ์แบบ รีสอร์ทหรูห้าดาวแห่งนี้ มอบประสบการณ์วันหยุดที่น่าจดจำสำหรับทุกคน ทั้งคู่รักและครอบครัวที่ชื่นชอบกิจกรรมสันทนาการที่น่าตื่นเต้น กีฬาทางน้ำ และสวนน้ำ

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายด้านความยั่งยืนของเซ็นทารา และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท ภูเก็ต ได้ดำเนินโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมมากมาย อาทิ การบำบัดน้ำเสีย โดยการนำน้ำจากห้องพักแขกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาบำบัดเพื่อใช้ในการทำสวน, 

การแปลงขยะอินทรีย์จากห้องอาหารมาเป็นก๊าซชีวภาพ และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์รวม 572 KWP ในการผลิตไฟฟ้าหมุนเวียน เพื่อประหยัดพลังงานและไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

นอกจากนั้น เซ็นทารา แกรนด์ บีช รีสอร์ท ภูเก็ต ยังอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยรอบรีสอร์ทผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ อาทิ การเก็บขยะริมหาด, การอนุรักษ์และสร้างระบบนิเวศบริเวณหาดหน้าโรงแรม เพื่อให้เต่ามะเฟืองสามารถขึ้นมาวางไข่ได้ อีกทั้งการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร และอาหารส่วนเกิน ด้วยการส่งมอบอาหารส่วนเกินที่มีคุณภาพจากรีสอร์ทให้แก่มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ สาขาภูเก็ต (SOS)

“เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเคทีซีหรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูเก็ต ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางหลักของนักท่องเที่ยวทั่วโลก”

ธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา กล่าว “ที่ เซ็นทารา เรามุ่งมั่นในการนำหลักการด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมาเป็นหัวใจในการดำเนินธุรกิจและให้บริการแขกผู้เข้าพัก เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งมอบสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต”

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนการด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของเซ็นทาราได้ที่

www.centarahotelsresorts.com/sustainability

ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

“คิง เพาเวอร์” ผลักดัน “ซอฟต์เพาเวอร์” ไทยสู่สากล เปิด 7 เมนูสำรับไทย ในงานเลี้ยงฉลองแชมป์ “เลสเตอร์ ซิตี้” ที่ประเทศอังกฤษ

กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ร่วมฉลองแชมป์ เดอะ แชมเปียนชิพ สมัยที่ 8 ของเลสเตอร์ ซิตี้ แสดงพลังซอฟต์เพาเวอร์ ด้านอาหารไทยกับ 7 เมนูสำรับไทย โดย“เชฟชุมพล แจ้งไพร” เชฟมิชลินสตาร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย

คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพส่งตรงจากประเทศไทยสู่ประเทศอังกฤษ รังสรรค์เมนูสุดพิเศษ พร้อมเสิร์ฟให้ทัพนักกีฬาและแขกผู้มีเกียรติภายในงานสัมผัสเสน่ห์ของรสชาติแบบฉบับไทยแท้

สำหรับ 7 เมนูอาหารไทยในงาน “End of Season Dinner” ที่เชฟชุมพล พิถีพิถันคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพสร้างสรรค์เมนูพิเศษ เพื่อเสิร์ฟให้แขกผู้มีเกียรติได้สัมผัสเสน่ห์ของรสชาติแบบฉบับไทย ประกอบด้วย ผัดไทยกุ้ง (Pat Thai, Stir-fried rice noodle with Black tiger prawn), แกงเขียวหวานไก่ (Thai Green curry with Chicken), แกงมัสมั่นแกะ (Thai Massaman British Lamb),

ต้มยำกุ้ง (Classic Thai Tom Yum Soup of Live King River Prawns), ลาบเป็ด (Spicy Gressingham Duck Salad with Thai Herb), พล่ากุ้งสมุนไพร (Spicy Grilled Prawn with Thai Herb) และปิดท้ายกับเมนูของหวานซอฟต์เพาเวอร์สุดฮอตจากแดนสยามอย่าง ‘ข้าวเหนียวมะม่วง’ (Mango with Sticky rice)

โดยเชฟชุมพล ร่วมบอกเล่าถึงความพิเศษของเมนูอาหารไทยในค่ำคืนนี้ว่า “สำหรับเมนูพิเศษที่ร่วมเฉลิมฉลองแชมป์ให้กับสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ผมตั้งใจเลือกเมนูอาหารไทยที่สามารถบอกเล่าความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน นำมาปรุงให้กับทีมจิ้งจอกสยาม และแขกที่เข้าร่วมงานทุกท่านได้รับประทานอาหารรสชาติไทยๆ รวมทั้งยังเป็นการช่วยโปรโมทซอฟต์เพาเวอร์อาหารไทยในระดับนานาชาติ

โดยได้นำวัตถุดิบเกือบทั้งหมดมาจากประเทศไทยกว่า 150 กก. เพื่อมาปรุงเครื่องแกงใหม่ เพิ่มรสชาติและความหอมให้กับการทำอาหารมื้อสำคัญ ทั้งเครื่องแกงเขียวหวาน เครื่องแกงมัสมั่น และซอสผัดไทย เพราะต้องการให้ทุกท่านได้สัมผัสเสน่ห์ของอาหารไทย ที่เป็นรสชาติของคนไทยจริงๆ”

ทั้งนี้ อาหารไทย นับเป็นหนึ่งในซอฟต์เพาเวอร์ที่ คิง เพาเวอร์ มุ่งมั่นผลักดันไปสู่สากล เนื่องด้วยอาหารไทยมีเสน่ห์ และอัตลักษณ์เฉพาะตัว มีสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นส่วนผสม มีความประณีตสวยงาม สะท้อนความละเมียดละไม ผ่านการปรุงอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน

อีกทั้งยังมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ อาหารไทยจึงเป็นซอฟต์เพาเวอร์ที่จะช่วยยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นสู่ความเป็นสากล

นอกจากความพิเศษของเมนูอาหารแล้ว คิง เพาเวอร์ ยังได้นำเสื้อแจ็คเก็ต LCFC “LCFC BAN KHAO TAO COLLECTION” ผ้าทอเอกลักษณ์จากศูนย์หัตถกรรมทอผ้าบ้านเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลิตจากผ้ายีนส์และผ้าฝ้ายทอมือดีไซน์สตรีทแฟชั่นรุ่นลิมิเต็ด มอบให้กับนักฟุตบอลทีมเลสเตอร์ ซิตี้ ใส่ลงสนามในช่วงพิธีเปิดการแข่งขันอีกด้วย

ท่องเที่ยว, ธุรกิจ

บางกอกแอร์เวย์ส ทุบสถิติกำไรไตรมาสแรกปี 67 1,900 ล้านบาท “โตแรงแซงพรีโควิดปี 62” จากเที่ยวไทยพลิกบูม พร้อมยอดผู้โดยสารทะลุ 1.3 ล้านคน

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (BA) ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567 โดยบริษัทฯ มีรายได้รวม 7,828.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 

มีกำไรสุทธิ 1,879.5ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 1,000.1ล้านบาท หรือร้อยละ 113.7 จากปี 2566นอกจากนี้ ยังมีการเติบโตในด้านจำนวนผู้โดยสารที่ขนส่งรวมทั้งสิ้น 1.3 ล้านคน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.1 จากปี 2566

และฟื้นตัวได้ร้อยละ 75.6 จากช่วงก่อนการระบาดโรคโควิด-19 ในปี 2562 อีกทั้งยังมีผลกำไรที่เติบโตกว่าช่วงเดียวกันของปี 2562 ร้อยละ 267.95    ซึ่งในปีดังกล่าวมีกำไรอยู่ที่ 510.8 ล้านบาท 

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากภาพรวมสถานการณ์การเดินทางและการท่องเที่ยวทั่วโลกและในประเทศไทยที่ยังคงมีทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง

พร้อมด้วยปัจจัยการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินในเอเชียแปซิฟิก และการเติบโตของปริมาณอุปสงค์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย ที่ขยายตัว บริษัทฯ จึงเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญโดยได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินเพื่อรองรับปริมาณ 

การเดินทางที่มีความต้องการสูงโดยเฉพาะเส้นทางสมุย รวมถึงได้กลับมาให้บริการเส้นทางบินไปยังประเทศจีน 2 เส้นทางเชื่อมเกาะสมุย ได้แก่ สมุย-เฉิงตู และสมุย-ฉงชิ่ง ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาเฉลี่ยจำนวน 2 – 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ 

โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2567 บริษัทฯ ได้ขนส่งผู้โดยสาร 1.3 ล้านคน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.1 จากปี 2566 และฟื้นตัวได้ร้อยละ 75.6 ของช่วงก่อนโควิด-19 ในขณะที่ปริมาณที่นั่งรวมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 15.5 ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มีอัตราขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 88.4 

ปรับตัวสูงขึ้น 1.3 จุดจากปี 2566 โดยรายได้บัตรโดยสารส่วนใหญ่มาจากจุดขายบัตรโดยสาร (Point-of-Sale) จากต่างประเทศร้อยละ 44.0 รองลงมาได้แก่ จุดขายบัตรโดยสารผ่านเว็บไซต์และระบบเชื่อมต่อตรงกับบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 43.0 

และจุดขายบัตรโดยสารในประเทศไทยร้อยละ 12.0 ของรายได้บัตรโดยสารทั้งหมด และมีราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 4,405.9 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0  

สำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 7,828.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 จากการเติบโตของธุรกิจสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนรายได้ร้อยละ 73.4 และร้อยละ 16.8 ของรายได้รวมตามลำดับ

ทั้งนี้ มีกำไรจากการดำเนินงาน 2,390.8 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 1,160.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.2 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากบัตรโดยสารของธุรกิจการบิน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 39.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

และรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 ในขณะที่บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายรวม 5,358.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนขายและบริการ อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินและค่าบริการผู้โดยสาร

บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิสำหรับงวด 1,879.5 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 1,000.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 113.7 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 โดยมีผลกำไรส่วนที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ 1,873.2 ล้านบาท

และมีผลกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.89 บาท ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 บริษัทยังมีผลกำไรที่เติบโตขึ้นร้อยละ 267.95 ซึ่งในปีดังกล่าวมีกำไรอยู่ที่ 510.8 ล้านบาท” 

สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ยังคงวางเป้าผู้โดยสารตลอดปี 2567 ที่ 4.5 ล้านคน และรายได้ผู้โดยสาร 17,800 ล้านบาท โดยมุ่งมั่นที่จะมอบประสบการณ์การเดินทางด้วยบริการเต็มรูปแบบ (Full Services) มุ่งเน้นบริการระดับพรีเมี่ยมให้แก่ผู้โดยสาร

การันตีด้วยรางวัลเกียรติยศสายการบินระดับภูมิภาคที่ที่สุดในโลก และสายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในเอเชีย 7 ปีซ้อน จากการประกาศผล เวิลด์ แอร์ไลน์ อวอร์ด ประจำปี 2566 จากสกายแทรกซ์

โดยสำหรับปี 2567 นี้ บริษัทฯ ยังคงเดินหน้ากลยุทธ์เครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตรสายการบิน โดยมีแผนข้อตกลงความร่วมมือกับสายการบินเพิ่มเติมประมาณ 2 สายการบินในปี 2567 

อีกทั้งยังมุ่งเน้นการดำเนินงานด้านแผนพัฒนากิจการสนามบินภายใต้การบริหารงานของบริษัท จำนวน 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินสมุย สนามบินสุโขทัย และสนามบินตราด เพื่อส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเส้นทางบินและอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร

รวมถึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เดินทางมายังจุดหมายปลายทางต่าง ๆ ในประเทศไทย นายพุฒิพงศ์ กล่าวสรุป