พลังงาน

WP ส่งซิกผลงาน Q2/67 ฟอร์มดี ธุรกิจก๊าซ LPG ฟื้นส่งออกไปได้สวย มั่นใจดันยอดขายทะลุ 820,000 ตันตามนัด!

บมจ.ดับบลิวพีเอ็นเนอร์ยี่ (WP) ส่งสัญญาณแนวโน้มธุรกิจและผลงานไตรมาส 2/67 เติบโตต่อเนื่องรับอานิสงส์จากความต้องการใช้ก๊าซ LPG ฟื้นตัวส่งออกไปได้สวยฟากแม่ทัพหญิงชมกมลพุ่มพันธุ์ม่วง

เดินหน้าลุยขยายจุดกระจายสินค้าให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศผลักดันผลยอดขายก๊าซ LPG ปี 67 ทะลุ 820,000 ตันตามแผนพร้อมทุ่มงบลงทุนธุรกิจใหม่ Green Energy รองรับเมกะเทรนด์รักษ์โลกตอบโจทย์ ESG หนุนผลงานนิวไฮต่อเนื่อง

นางสาวชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)  (WP) เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 ของบริษัทฯ เชื่อว่ายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ฟื้นตัวอย่างชัดเจน

โดยเฉพาะภาคครัวเรือน มีความต้องการใช้มากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายทั้งในประเทศและต่างประเทศเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงได้รับปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า และราคาขายก๊าซ LPG ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก

ในปี 2567 ตั้งเป้ายอดขายก๊าซ LPG ที่  820,000 ตัน แบ่งเป็นยอดขายภายในประเทศจำนวน 790,000 ตัน และส่งออก จำนวน 30,000 ตัน โดยมีแผนขยายจุดกระจายสินค้าภาคครัวเรือนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าและเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น รองรับความต้องการของผู้บริโภค โดยปัจจุบันมีจุดกระจายสินค้ากว่า 168 แห่งทั่วประเทศ

ขณะที่การลงทุนในธุรกิจติดตั้งระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ปัจจุบันมีการเซ็นสัญญาไปรวมทั้งสิ้น 11 เมกะวัตต์ มั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ (Recuring Income) ให้กับกลุ่มบริษัท โดยตั้งงบลงทุนไว้ที่ 600 ล้านบาท เน้นขยายการลงทุนด้าน Green Energy

และยังคงมองหาการลงทุนหรือขยายโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะอยู่ใน Trend การเติบโตในอนาคต ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะเป็นรูปแบบการลงทุนเอง หรือร่วมทุนกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจ สอดรับเมกะเทรนด์รักษ์โลก ตอบโจทย์ ESG หนุนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

“มั่นใจว่าภาพรวมธุรกิจก๊าซ LPG ในปีนี้จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะภาคครัวเรือนมีความต้องการใช้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อยอดขายของบริษัทเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ระดับ 18,250 ล้านบาท อีกทั้งการลงทุนในธุรกิจโซลาร์รูฟท็อป จะช่วยเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ สนับสนุนผลการดำเนินงานเติบโตอย่างยั่งยืน” นางสาวชมกมล กล่าว

อนึ่ง ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1/2567 ของบริษัทฯมีรายได้รวม 4,847.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 347.72 ล้านบาท หรือ 7.73% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายได้รวม 4,499.92 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 32.64 ล้านบาท

พลังงาน

WP Energy สานต่อกิจกรรม Walk Rally เพื่อสังคมครั้งที่ 8 ประจำปี 2567

บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทพลังงานครบวงจร และผู้จัดจำหน่ายก๊าซ LPG ภายใต้แบรนด์เวิลด์แก๊ส สานต่อกิจกรรม “WP Energy Walk Rally เพื่อสังคม ปีที่ 8” เปิดโอกาสให้ลูกค้ากลุ่มบรรจุ กลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มพาณิชยกรรมของบริษัทจำนวนกว่า 100 ชีวิต ได้ร่วมกันเคียงข้างสร้างรอยยิ้ม

ตามพันธกิจหลัก “We Promise” เพื่อส่งต่อพลังบวกให้กับสังคมอย่างต่อเนื่อง ณ บ้านถ้ำเสือ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี  ชุมชนคาร์บอนต่ำ แหล่งธนาคารต้นไม้แห่งลุ่มน้ำเพชรบุรี ผ่านกิจกรรม “เสือคลุกดิน” เมื่อวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยผู้เข้าร่วมทุกคนได้ร่วมกันปั้นกระสุนเมล็ดพันธุ์พืช อาทิ มะขวิด พะยอม ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นถิ่นในแถบนั้น และยิงเข้าไปในป่าใหญ่แบบสุ่ม

โดยคาดหวังว่าจะเกิดเป็นต้นไม้อย่างน้อย 30% จากจำนวนกระสุนที่ยิงไปทั้งหมด เพื่อเติมเต็มพื้นที่สีเขียวกลับคืนสู่ธรรมชาติ นอกจากนั้นยังได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศร่มรื่น และเรียนรู้วิถีชีวิตเรียบง่ายแต่สนุก จากกิจกรรมทำทองม้วนกรอบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกขึ้นชื่อของชุมชน ไข่เค็มจากดินสอพองใบเตยและดอกอัญชัน ที่ได้หน่วยงานชุมชนบ้านถ้ำเสือมาเป็นผู้นำทีม

คุณชมกมล พุ่มพันธุ์ม่วง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ เชื่อว่าโลกจะก้าวไปข้างหน้าด้วยพลังแห่งการคิดบวก หรือ Positive Progress ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจกันลงมือจากคนที่มีหัวใจคิดบวกแบบเดียวกัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทั้งในสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน ให้ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน

เราขอขอบคุณลูกค้าจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม “WP Energy Walk Rally เพื่อสังคม” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยในปีนี้เราได้ร่วมกันคืนต้นไม้สู่ป่า เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทั้งนี้ ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ คาดหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านในปีถัดไปอีกเช่นเคย”

พลังงาน

TPCH จ่อเซ็น PPA โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ SPNK เร็วๆ นี้ ลุยพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเพิ่มอีก 4 โปรเจค เดินหน้าส่งยานลูก “สยาม พาวเวอร์” เข้าตลาดหุ้นปี 68

บมจ.ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง (TPCH) แจกข่าวดี! เตรียมเซ็น PPA โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ SPNK กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เร็วๆ นี้ เดินหน้าพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศเพิ่ม 4 โครงการ รุกขยายการลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทน

พลังงานแสงอาทิตย์-พลังงานลมต่างประเทศต่อเนื่อง ทั้งสปป.ลาว-กัมพูชา-เวียดนาม พร้อมส่งบริษัทลูก “สยาม พาวเวอร์” ระดมทุนเข้าตลาดหุ้นภายในปี 68 ตามแผน หวังสร้างโอกาสในการเติบโตในอนาคต

default

นางกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH)  เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรก ยังมีทิศทางที่ดี เนื่องจากบริษัทฯ มุ่งพัฒนาธุรกิจพลังงานทดแทน ประเภทพลังงานขยะ ประมาณ 4 โครงการ

ภายใต้บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด และ TPCH ถือหุ้นในสัดส่วน 50%  ประกอบด้วย  SP4-SP7 เป็นโครงการรูปแบบ VSPP (Very Small Power Producer) เพื่อเข้าร่วมโครงการรับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ

ขณะเดียวกัน โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ สยาม พาวเวอร์ นากลาง (SPNK) ขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง ตั้งอยู่ที่ตำบลนากลาง อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 9.9 เมกะวัตต์ คาดว่า จะสามารถเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ได้ในเร็วๆ นี้

ซึ่งล่าสุด โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน สยาม พาวเวอร์ หนองสาหร่าย (SPNS) มีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 9.9 เมกะวัตต์ ได้เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรียบร้อยแล้ว คาดว่า จะสามารถ SCOD ภายในวันที่ 29 ธันวาคม 2569 

“TPCH มีแผนที่จะนำ บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดว่า ในปี 2568 ขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนการศึกษาตามหลักเกณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับบริษัทฯ ได้ในอนาคต พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังคงทำงานอย่างเต็มศักยภาพ มุ่งพัฒนาและควบคุมการบริหารเชื้อเพลิงและต้นทุนการผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

ปรับกลยุทธ์ให้ทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลและพลังงานขยะ ทั้ง 8 แห่ง สามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ จึงมั่นใจว่า รายได้ในปีนี้จะเติบโต 10% จากปีก่อน” นางกนกทิพย์กล่าว

ด้านนายเชิดศักดิ์ วัฒนวิจิตรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH) กล่าวว่า สำหรับการลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทนใน สปป.ลาว บริษัทฯ ได้เข้าร่วมลงทุนกับ บริษัท แม่โขง พาวเวอร์ จํากัด (MKP) ในสัดส่วน 40% ที่ประกอบธุรกิจผลิต

และจําหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ใน สปป.ลาว และ MKP ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 100 เมกะวัตต์ กับรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (EDL) เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันได้มีการปรับพื้นที่เพื่อเตรียมก่อสร้างและได้เริ่มงานด้านโครงสร้างและรั้วกั้นโซนติดตั้งสถานีไฟฟ้า (Substation) และมีการเซ็นสัญญางานวิศวกรรม งานจัดซื้อ

และงานก่อสร้าง (Engineering, Procurement and Construction (EPC Contract)) กับผู้รับเหมาจากประเทศจีน ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างผู้รับเหมาช่วง คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการในช่วงไตรมาส 2/2567 รวมทั้ง มีแผนที่จะส่งไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ไปจำหน่ายในประเทศเวียดนามอีกหนึ่งโครงการ

ส่วนการลงทุนในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาต โดยตั้งเป้าหมายมีกำลังการผลิตของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ประมาณ 180-200 เมกะวัตต์ และโครงการพลังงานลม ประมาณ 50-100 เมกะวัตต์

“การเข้าลงทุนธุรกิจพลังงานทดแทนในต่างประเทศยังมีช่องทางการขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากในกลุ่มประเทศ CLMV มีความต้องการพลังงาน Renewable energy สูง เป็นโอกาสให้บริษัทฯ ได้พัฒนาโครงการต่อไปได้อีก” นายเชิดศักดิ์กล่าวในที่สุด

ปัจจุบัน TPCH มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 99.4 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลและพลังงานขยะทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงเป้าหมายมีกำลังการผลิตรวม 500 เมกะวัตต์ ภายในปี 2569 แบ่งเป็น โรงไฟฟ้าในประเทศ 150 เมกะวัตต์ ทั้งโรงไฟฟ้าประเภทพลังงานชีวมวล 80 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าประเภทพลังงานขยะ 70 เมกะวัตต์ รวมทั้งโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในต่างประเทศ 350 เมกะวัตต์

อนึ่ง ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/2567 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2567) มีกำไรสุทธิ 98.41 ล้านบาท  และมีรายได้รวม 621.69 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภาพรวมผลประกอบการในไตรมาส 1/2567 ยังสามารถทำผลงานได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งรับรู้รายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ครบ 8 แห่ง ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล CRB, MWE, MGP, TSG, PGP, SGP , PTG 

 มีกำลังการผลิตติดตั้ง 80 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ สยาม พาวเวอร์ นนทบุรี (SPNT)  ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 9.5 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ SPNT สามารถเดินเครื่อง เฉลี่ย 79% มีการปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักรให้สามารถเดินเครื่องได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

พลังงาน, สังคมเศรษฐกิจ

ซีเค พาวเวอร์ ผสานความร่วมมือ หอศิลป์คลังจัตุรัส จัดโครงการ “เรียนรู้พลังงานสะอาด  สร้างโลกสีเขียว ด้วยวิถีศิลป์”

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคและมีคาร์บอนฟุตพรินต์ที่ต่ำที่สุดรายหนึ่ง นำโดย นายเรวัตร สุวรรณกิตติ ที่ปรึกษา 

พร้อมด้วยอาจารย์สมาน คลังจัตุรัส ศิลปินเอกครูช่างและผู้ก่อตั้งหอศิลป์คลังจัตุรัส ร่วมกันจัดกิจกรรม”เรียนรู้พลังงานสะอาด  สร้างโลกสีเขียว ด้วยวิถีศิลป์” โดยมีนายอนันต์  นาคนิยม  ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ให้เกียรติเป็นประธานและร่วมเปิดงาน 

เพื่อสร้างความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนและเสริมความเข้าใจในการปกป้องดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยทักษะศิลปะจากเครือข่ายครูศิลปะชั้นนำของไทย 

รวมทั้ง ได้ส่งเสริมความรู้ด้านพลังงานสะอาดให้กับเยาวชน คุณครูจิตอาสาพนักงาน และชุมชนรอบโรงไฟฟ้าตามกรอบการดำเนินงานสร้างคุณค่าสู่สังคม หรือ CSR Strategy Framework ครอบคลุมมิติสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ

พลังงาน

BPP เผยผลประกอบการไตรมาสแรกปี 2567 โรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ และจีนเดินเครื่องดีหนุนรายได้มั่นคง

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าคุณภาพระดับสากล รายงาน   ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567 มีรายได้รวมจำนวน 6,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,822 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 81 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย

ค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) รวม 1,512 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 318 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน* โดยเป็นผลมาจากผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติ Temple l 

และ Temple ll ในสหรัฐอเมริกาผนวกกับผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Heat and Power: CHP) และโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (SLG) ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปริมาณขายไฟฟ้าและไอน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงต้นทุนที่ลดลงจากการบริหารต้นทุนที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ

พลังงาน

บี.กริม เพาเวอร์ เอ็มโอยู ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ร่วมพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในประเทศไทย ก้าวสู่ความยั่งยืนในอนาคต

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศไทย และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (STECON)

บริษัทก่อสร้างระดับชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในประเทศไทย สู่การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน

ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า บี.กริม ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศไทย ที่ครอบคลุมทั้งในด้านการพัฒนาโครงการก่อสร้าง การจัดการด้านการเงิน

การปฏิบัติการและการบำรุงรักษาการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะผลงานในการดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศกว่า 4,000 เมกะวัตต์ และมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตสู่จำนวน 10,000 เมกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2030 จะผนึกกำลังกับ STECON บริษัทวิศวกรรมและก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรายใหญ่ในประเทศไทย

โดยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆ มากมาย รวมถึงระบบขนส่งต่างๆ ทั้งมีประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยผสานความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่าย ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อความสำเร็จของการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในประเทศไทย

ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการผนึกจุดแข็ง ความชำนาญ และประสบการณ์ของทั้งสองฝ่าย ร่วมกันประเมินความเป็นไปได้ของโครงการพลังงานทดแทน เพื่อพิจารณาศักยภาพของโครงการ สู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนในประเทศไทย

ครอบคลุมทั้งด้านการก่อสร้าง การจัดหาเงินทุน การลงทุน การอัพเกรด การฟื้นฟู รวมถึงการปฏิบัติการและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทย

ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกในการผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าและขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศในการใช้พลังงานสะอาด ทั้งยังตอบโจทย์เป้าหมายของทั้งสองหน่วยงาน ในส่วนของ บี.กริม เพาเวอร์ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีวิสัยทัศน์มุ่งสร้างพลังให้กับสังคมโลกด้วยความโอบอ้อมอารี

(Empowering the World Compassionately) สู่การพัฒนาด้านพลังงานที่ยั่งยืนและปลอดภัยภายใต้กลยุทธ์หลัก Green Leap – Global and Green โดยตั้งเป้าเป็นองค์กรที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net-Zero Carbon Emissions ภายในปี พ.ศ. 2593

“ความร่วมมือระหว่าง บี.กริม เพาเวอร์ และ STECON ครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการสร้างแหล่งพลังงานทดแทน เพื่อการดำเนินธุรกิจด้วยความยั่งยืน พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาดในอนาคต” ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ กล่าวทิ้งท้าย

คุณภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ STECON เปิดเผยว่า ความร่วมมือกันในครั้งนี้ถือเป็นการผนึกความรู้ ความเชี่ยวชาญของ B.Grimm และ STECON เข้าด้วยกัน ในการร่วมกันศึกษาและวางแผนการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทน เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง

เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ STECON เรามุ่งเน้นในการพัฒนางานด้านพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด ด้วยประสบการณ์ด้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยมีวิสัยทัศน์ในการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ

เพื่อส่งมอบให้แก่ลูกค้าในระดับมาตรฐานสากล โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานและสามารถรองรับ Mega Trend รวมถึงความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในประเทศได้ในอนาคต

พลังงาน

SUPER โชว์งบ Q1/67 กวาดรายได้ 2,768.17 ลบ. EBITDA Margin แกร่งแตะ 81% จ่อบุ๊กรายได้-กำไรขายโรงไฟฟ้า 4.85 พันลบ.เดือนมิ.ย.นี้ 

บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) โชว์งบไตรมาส 1/67 กวาดรายได้ 2,768.17 ล้านบาท กำไรสุทธิ 155.18 ล้านบาท EBITDA Margin แตะ 81% รับปัจจัยหนุนปริมาณผลิตไฟฟ้าเพิ่ม 

ซีอีโอ “จอมทรัพย์ โลจายะ”พร้อมลุยโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบทั้งในและต่างประเทศ เผยเตรียมรับเงินขายหุ้น “ทานตะวัน โซล่าร์” มูลค่า 4,859 ล้านบาท ภายในเดือน มิ.ย.นี้

นายจอมทรัพย์ โลจายะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER)  เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2567) มีรายได้รวม 2,768.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.82 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้ 2,718.69  ล้านบาท

กำไรสุทธิอยู่ที่ 155.18 ล้านบาท  โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าในประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ได้แก่ โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการพลังงานลม  โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะ โครงการ SPP Hybrid  เป็นต้น

ขณะที่กำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมและดอกเบี้ย ( EBIDTA) อยู่ที่ 2,205 ล้านบาท หรือคิดเป็น EBITDA Margin 81% สะท้อนความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท

สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดโตต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 2 บริษัทฯ จะมีการบันทึกรายได้และกำไรพิเศษจากการขายหุ้น SUNFLOWER ให้กับ บริษัท เลวันตา รีนิวเอเบิลส์ (ประเทศไทย) (LEVANTA) มูลค่าโครงการไม่เกิน 4,859 ล้านบาท ภายในเดือนมิถุนายน 2567 

ที่ผ่านมาบริษัทฯได้มีการขยายการลงทุนพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ  รวมถึงการจับมือพันธมิตร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน โดยในปี 2567 ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต สร้างสถิติสูงสุดใหม่ จากปีที่ผ่านมามีรายได้รวม 10,130.71 ล้านบาท

ขณะเดียวกันบริษัทฯ ก็จะมองหาโอกาสการลงทุนใหม่ รวมทั้งเข้าประมูลขายไฟฟ้าในส่วนของพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ของภาครัฐ ซึ่งจะสนับสนุนการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในอนาคต

ปัจจุบัน SUPER  มีกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าตามปริมาณเสนอขายตาม PPA ที่ 2,369.79  เมกะวัตต์ COD แล้ว 1,626.11 เมกะวัตต์  โดยบริษัทตั้งเป้า มีกำลังการผลิตไฟฟ้ากว่า 2,200  เมกะวัตต์ในปี 2567

พลังงาน

กระทรวงพลังงาน จับมือ “ปตท.- กฟผ.” ดัน “ไทย” ก้าวข้ามความท้าทายด้านพลังงาน ยก “ฟิวเจอร์ เอเนอร์ยี่ เอเชีย” และ “ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย 2024”  ปัจจัยเร่งทรานส์ฟอร์มพลังงานสะอาด 15-17 พ.ค.นี้! ที่ ศูนย์ฯ สิริกิติ์

กระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดีเอ็มจี อีเวนท์ จำกัด รุดดัน “ประเทศไทย” ก้าวข้าม 3 ความท้าทายด้านพลังงานที่ “มั่นคง เข้าถึงได้ และยั่งยืน” พร้อม “Future Energy Asia & Future Mobility Asia 2024”

ชูสุดยอดงานประชุมและจัดแสดงนวัตกรรมพลังงานแห่งปี ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน นักลงทุน และนักนวัตกรรมระดับนานาชาติมากกว่า 22,000 ราย จาก 70 ประเทศทั่วโลก ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เทคโนโลยี และการลงทุน

 สู่ความมั่นคงด้านพลังงานและความยั่งยืนในระดับประเทศและภูมิภาค ปัจจัยเร่งสร้างการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่สะอาดขึ้น โดยภายในงานพบ Future Energy Asia โชว์รูมที่รวบรวมผลิตภัณฑ์สินค้า บริการ และโซลูชันด้านพลังงานที่ล้ำสมัย Future LNG Asia Summit ง

านประชุมสุดยอดผู้นำก๊าซธรรมชาติแบบแอลเอ็นจี (LNG) Future Mobility Asia Exhibition and Summit นิทรรศการและงานประชุมสุดยอดผู้นำด้านกลยุทธ์ ทั้งนี้ นิทรรศการและงานประชุม Future Energy Asia & Future Mobility Asia 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2567 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ดร.สมภพ พัฒนอริยางกูล รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงานประชุมและนิทรรศการ Future Energy Asia & Future Mobility Asia 2024 โดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะมุ่งส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคเอเชีย

ผ่านการหารือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนการนำเสนอความก้าวหน้าของนวัตกรรมพลังงานระหว่าง ประเทศผู้นำด้านพลังงานและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมพลังงาน ซึ่งจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายด้านพลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และการส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050

และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ตลอดจนเร่งผลักดันให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามความท้าทายด้านพลังงานทั้ง 3 ประการ (Energy Trilemma) ซึ่งประกอบไปด้วย การสร้างความมั่นคงทางพลังงาน การเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสม และพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มร.คริสโตเฟอร์ ฮัดสัน ประธานบริษัท ดีเอ็มจี อีเว้นท์ โกลบอลล์ เอนเนอร์ยี กล่าวเสริมว่า “งานประชุมและนิทรรศการ Future Energy Asia & Future Mobility Asia 2024 ที่สุดของงานประชุมด้านพลังงานและนวัตกรรมยานยนต์แห่งภูมิภาคเอเชีย 

จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘ทางออกของเอเชียต่อความท้าทายด้านพลังงานของโลก’ (Asia’s Solution to the World’s Energy Challenges) ด้วยเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย เทคโนโลยี และการลงทุนด้านพลังงาน

สู่การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและความยั่งยืนในระดับประเทศและภูมิภาค โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าชมงาน 22,000 คน ผู้ร่วมประชุม 2,500 คน วิทยากร 600 คน และบริษัท 350 แห่งจากกว่า 70 ประเทศ ทั้งนี้ งานดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ถึงความเป็นผู้นำของเอเชียในการเจรจาด้านพลังงานระดับโลก

ส่งเสริมความร่วมมือที่อาจจะกำหนดอนาคตของการผลิตและการใช้พลังงาน ตลอดจนตอกย้ำบทบาทสำคัญของเอเชียในการขับเคลื่อนโลกสู่เส้นทางพลังงานที่สะอาดขึ้น เชื่อถือได้มากขึ้น และยั่งยืน”

โดยเราได้เล็งเห็นถึงโอกาสสำคัญสำหรับผู้กำหนดนโยบาย และผู้นำประเทศที่จะเข้าร่วมการประชุมเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวเพื่ออภิปรายถึงนโยบายการพัฒนาในระดับโลก จึงได้จัดงานประชุมผู้กำกับดูแลพลังงานประจำปี (ERRA) ครั้งที่ 21 ขึ้น

โดยภายในงานประกอบด้วยเวทีฟอรัมผู้กำหนดนโยบายพลังงาน (ERF) ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ทั้งนี้ กกพ. ในฐานะผู้นำร่องการใช้พลังงานหมุนเวียนและโซลูชันด้านความยั่งยืนทางพลังงาน

จะเป็นผู้สนับสนุนการประชุม ERRA ในครั้งนี้ ด้วยการส่งสมาชิกเข้าร่วมเวทีการประชุม ERC Forum สำหรับหน่วยงานกำกับดูแลจากภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะช่วยเน้นย้ำถึงการพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในภูมิภาค

สำหรับงาน Future Energy Asia & Future Mobility Asia 2024 จัดขึ้นโดยกลุ่ม ปตท., กฟผ. และ บริษัท ดีเอ็มจี อีเวนท์ จำกัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนหลัก ADNOC และ ปตท.สผ. ในการจัดแสดงนวัตกรรมที่ก้าวล้ำ

และกรอบนโยบายที่จะเป็นแนวทางในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อย่างไรก็ดี การประชุมในครั้งนี้มิได้เป็นเพียงการอภิปรายเท่านั้น แต่ยังสร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญสู่อนาคตพลังงานที่ยั่งยืน

นายวุฒิกร สติฐิต ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปตท. ในฐานะบริษัทชั้นนำด้านพลังงานของไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ขับเคลื่อนอนาคตของพลังงานสู่ความยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก กับการก้าวไปอีกขั้นในเรื่องการเพิ่มความหลากหลายไปสู่พลังงานหมุนเวียน

โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งเรามุ่งหวังที่จะเป็นผู้นำการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและสร้างความก้าวหน้าในการวิจัยในสาขาที่สำคัญเหล่านี้ ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ

อีกทั้งยังเล็งเห็นการจัดเก็บพลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบพลังงาน บทบาทที่ก้าวหน้าของ LNG (Energy Transition in LNG) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผสมผสานพลังงานในอนาคต

และการเพิ่มขึ้นของยานพาหนะไฟฟ้าที่ส่งสัญญาณถึงยุคใหม่ของการเติบโตและเพิ่มโอกาสสำหรับปตท. และพันธมิตรของเรา การพัฒนาเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแส แต่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างอนาคตพลังงานที่ยั่งยืน

ดังนั้น นิทรรศการและงานประชุม Future Energy Asia & Future Mobility Asia 2024 ครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญของทั้ง ภูมิภาคอาเซียนในการบูรณาการความร่วมมือในทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนอนาคตเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานไปพร้อมกัน

นายธวัชชัย สำราญวานิช รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า  ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานที่มีเป้าหมายหลักในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และ เป็นผู้นำในการบูรณาการเทคโนโลยีล้ำสมัยและทรัพยากรหมุนเวียน

เพื่อเปลี่ยนแปลงกรอบการทำงานด้านพลังงานของเอเชีย การประชุมสุดยอดครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญในการแบ่งปันความก้าวหน้าและความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน โดยเน้นย้ำถึงบทบาทเชิงรุกของเอเชียในการตอบสนองความต้องการพลังงานทั่วโลกและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม

ซึ่งเราได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความผันผวนของวงการพลังงานที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์พลังงานโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานนี้ จึงมีการจัดหาพลังงานสีเขียวควบคู่ไปกับการเตรียมแหล่งพลังงานทดแทนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะรักษาเสถียรภาพด้านพลังงาน ความมั่นคง และความยั่งยืนด้านพลังงานในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาน การวิจัยและพัฒนาพลังงาน จึงมีการขยายความร่วมมือเพื่อปูทางพลังงานสีเขียวในอนาคต

การเข้าร่วมประชุมสุดยอดครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญของเราในการการมีส่วนร่วมกำหนดเส้นทางสู่อนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเอเชียยังคงเป็นสัญญาณแห่งความก้าวหน้าและเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักในการร่วมกันแก้ปัญหาความท้าทายด้านพลังงานของโลก

ทั้งนี้ นิทรรศการและงานประชุม Future Energy Asia & Future Mobility Asia 2024: Asia’s Solution to the World’s Energy Challenges จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 17 พฤษภาคม 2567 ณ Exhibition Hall 1-3 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดของงานเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์  www.futureenergyasia.comwww.future-mobility.com และช่องทางโซเชียลมีเดีย @futureenergyasia

ธุรกิจ, พลังงาน

“EP ฟื้น Q1/67 รายได้พุ่ง 159.55% กำไรเพิ่มขึ้น 240.72% เริ่มรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าเวียดนาม คาด COD อีก 130 MW ใน Q2/67 ดันรายได้ปีนี้โต 4 เท่า”

บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) สุดตรอง! Q1/67 โชว์รายได้ 535.04 ล้านบาท พุ่ง 159.55% กำไรสุทธิ 188.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 240.72%  “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ระบุมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

ทั้งเริ่มรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าเวียดนาม 30 MW คาดการณ์ได้รับอนุมัติ COD อีก 130 MW ใน Q2/67 ดันรายได้รวมปีนี้โต 4 เท่า

นายยุทธ ชินสุภัคกุล ประธานกรรมการบริษัท อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (EP) เปิดเผยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2567) ว่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม จำนวน 535.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 159.55% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีรายได้รวม 206.14 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 188.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 240.72% จากงวดเดียวกันปีก่อนขาดทุนสุทธิ 133.99 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 ยังสดใสต่อเนื่องจากไตรมาสแรกปีนี้ และตลอดทั้งปี 2567 โดยคาดการณ์ว่าในไตรมาส 2/2567 นี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม 3 โครงการ กำลังการผลิต 130 เมกะวัตต์ จะได้รับอนุมัติ COD จาก EVN

ตามด้วยการทยอยลงนามในสัญญาเงินกู้ในวงเงินรวมกว่า 4,000 ล้านบาท หลังก่อนหน้านี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม หรือ BIDV ที่ให้ข้อเสนอ Project Finance สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม HL3  เป็นจำนวน 597,500 ล้านดอง

หรือประมาณ 870 ล้านบาท โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้ทันที ร้อยละ 60 ของวงเงิน และส่วนที่เหลือจะเบิกได้ เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าถาวร (FIT) กับทาง EVN ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2568

ในปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปีนี้เติบโตได้เกือบ 4 เท่าจากปี 2566 ทั้งในส่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ได้มีการปรับปรุงทั้งด้านการขายบริการ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน และธุรกิจพลังงาน ที่ในปีที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโต

ด้านการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่สูงมาก รวมไปถึงการทยอยจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม และมั่นใจว่าในอนาคตบริษัทฯ มีศักยภาพที่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามได้อย่างแน่นอน

พลังงาน

TSE เปิดงบ Q1/67 รายได้กว่า 300 ลบ. กำไรสุทธิเฉียด 100 ลบ. รุกประมูลโรงไฟฟ้า – Private PPA-จับมือพันธมิตรทำ M&A-JV มั่นใจฐานทุนแน่น ลุยสร้าง New-S-Curve ประเดิมธุรกิจ Healthcare

บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) เปิดงบไตรมาส 1/67 รายได้ 314 ล้านบาท กำไรสุทธิ 97 ล้านบาท แม่ทัพหญิง “ดร.แคทลีน มาลีนนท์”ระบุเดินหน้าประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 รุกธุรกิจ Private PPA 

พร้อมจับมือพันธมิตรผ่านการทำ M&A และ JVในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์-โรงไฟฟ้าขยะชุมชนทั้งในและต่างประเทศ ปักธงสร้าง New-S-Curve  มั่นใจฐานทุนแน่นหลังขายเงินลงทุนโรงไฟฟ้า “โอนิโกเบ” มูลค่า 3,357 ล้านบาท

และสามารถไถ่ถอนหุ้นกู้บางส่วนก่อนครบดีลมูลค่าถึง 1,175 ล้านบาท ส่งผลสัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงอย่างมีนัยสำคัญเพิ่มศักยภาพแหล่งทุน ล่าสุดประเดิมรุกธุรกิจ Healthcare ผลักดันอนาคตเติบโตก้าวกระโดด

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ TSE เปิดเผยว่าภาพรวมผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2567 (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2567) กลุ่มบริษัทฯ มีรายได้รวม จำนวน 314 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 97 ล้านบาท

โดยมีรายได้จากการขายและบริการ [รวมรายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder)] จำนวน 295 ล้านบาท 

สำหรับแนวโน้มธุรกิจในไตรมาส 2/2567 ตลอดจนถึงสิ้นปี ยังมีทิศทางที่ดีภายใต้แผนธุรกิจที่วางไว้ ทั้งการสร้างรายได้จากธุรกิจเดิม และรายได้จากธุรกิจใหม่ที่จะเป็น New S-Curve ในอนาคต

โดยบริษัทฯ มีความพร้อมด้านเงินลงทุนที่มาจากการจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ประเทศญี่ปุ่น “โอนิโกเบ” มูลค่า 3,357ล้านบาท ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้แจ้งใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ ครั้งที่ 1/2565 (TSE24OA) มูลค่า 1,175 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 29เมษายน ที่ผ่านมา 

ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 27ตุลาคม 2567 เพื่อบรรเทาภาระดอกเบี้ยจ่าย ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทฯ ลดลงเหลือ 1.72 เท่า ทำให้บริษัทฯ มีความสามารถในการลงทุนและพัฒนาโครงการใหม่ในอนาคต 

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีความพร้อมสำหรับการเข้าประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3 ตั้งเป้าหมายว่าจะได้งานประมูลราว 100 – 150 เมกะวัตต์ หลังจากปี 2566 ที่บริษัทฯ ชนะประมูลงานโครงการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรอบที่ 1 เป็นจำนวน 88.66 เมกะวัตต์เสนอขาย 

ควบคู่กับแผนธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) หรือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) และแบบติดตั้งบนผืนน้ำ (Solar Floating) ของผู้ประกอบการธุรกิจแบบครบวงจร

และการทำ M&A (Mergers and Acquisitions) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งกำลังการผลิต รวมถึงแผนจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชนในประเทศไทย และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ “

ในส่วนของธุรกิจใหม่ที่เข้าไปเริ่มลงทุน โดยช่วงปลายไตรมาส 1/2567 บริษัทฯ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ นายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และ ผู้ก่อตั้งคลินิก Bangkok IVF Clinic 

เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในแผนธุรกิจ Healthcare ซึ่งจัดอยู่ในเมกะเทรนด์และมีแนวโน้มการเติบโตสูง เพื่อสร้าง New-S-Curve และเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ มั่นใจว่าความร่วมมือระหว่างกันในครั้งนี้จะสนับสนุนผลการดำเนินงานในอนาคตให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ” ดร.แคทลีนกล่าว